Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
วันนี้ (25 เมษายน 2556) Thai Law Consult ได้รับ e-mail 4 คำถามจากราชบุรี อุดรธานี สุราษฎร์ธานี และ เชียงใหม่
คำถามแรกถามว่า
ถูกกล่าวหาว่า
|
"ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีสิทธิ" ผิดอย่างไร |
พี่ตุ๊กตา ทนายณุมาพร พัฒนพงศธร เปิดหนังสือ "คู่มือการศึกษาวิชา กฎหมายภาษีอากร" ของอาจารย์ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม แล้วช่วยกันเรียบเรียงบทความนี้ นำเสนอเป็นความรู้กฎหมายสู่ประชาชนครับ
หลักกฎหมาย ประมวลรัษฎากร
มาตรา 86 ภายใต้บังคับ มาตรา 86/1 มาตรา 86/2 และ มาตรา 86/8 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำ ในทันทีที่ความ รับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ส่วนสำเนาใบกำกับภาษีให้ เก็บรักษาไว้ตาม มาตรา 87/3
ผู้ประกอบการที่ได้รับ ยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้จด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตาม มาตรา 85/3 จะออกใบกำกับภาษีได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ใบกำกับภาษีให้ออกเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
การออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
มาตรา 86/13 ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ ผู้มีสิทธิ ออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดหนี้ ออกใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้
บุคคลใดออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะ ออกตามกฎหมายบุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้นเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
มาตรา 90/3 บุคคลดังต่อไปนี้ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่ระบุไว้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหก เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
(1) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรค 2
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินโดยไม่ได้รับอนุมัติ ตาม มาตรา 86/6 วรรคหก หรือ มาตรา 86/7
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำรายงานตาม มาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(4) ตัวแทนประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่จัดทำรายงานตาม มาตรา 87/2
(5) ผู้ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานประเมินหรือ ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตาม มาตรา 88/3 วรรคหนึ่ง
เนื่องจากใบกำกับภาษี เป็นหลักฐานที่จะนำมาใช้เป็นภาษีซื้อหักออกจากภาษีขาย ผู้ออกใบกำกับภาษีจึงต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีสิทธิออกใบกำกับภาษี ฉะนั้นจึงมีบทบัญญัติมาตรา 86/13 แห่งประมวลรัษฎากร ห้ามมิให้บุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี บุคคลใดออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย บุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้น เสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน นอกจากนี้ยังต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่า ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ตามมาตรา 89 (6) และยังมีความผิดตามมาตรา 90/3 (3) ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย ทั้งนี้ ตามฎีกาที่ 4410/2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2540 (ห้างหุ้นส่วนจำกัดโกเหลี่ยง โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย)
เมื่อโจทก์เป็นผู้ ดำเนินการออกใบกำกับภาษีในนามของผู้อื่น แต่ไม่มีการขายสินค้าตามใบกำกับภาษีดังกล่าว เป็นการออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย โจทก์จึงต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้น ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโจทก์ โดยคำนวณภาษีจากยอดขายสินค้าของโจทก์ ในแต่ละเดือน และจากใบกำกับภาษีในนามผู้อื่นซึ่งโจทก์ออกโดยไม่มีสิทธิดังกล่าว โดยคำนวณเฉพาะใบกำกับภาษีซึ่งผู้ประกอบการนำไปใช้หักภาษีเท่านั้น การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าว จึงถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายแล้ว