Blog categories

Latest posts

.

คำสำคัญ

มาตรา 51  เมื่อศาลทำการไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการตามมาตรา 49 แล้ว หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และคำร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับโอนทรัพย์สินตาม มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ฟังไม่ขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ หากผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต แล้วแต่กรณี

.

คดีฟอกเงิน หลักกฎหมาย และแนวทางคดี
      การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน

               

                    ทีม ทนาย Thai Law Consult ต่างเคยให้คำปรึกษาและว่าความในคดีฟอกเงินมาแล้ว วันนี้ (24 เมษายน 2556) เมื่อได้รับ e-mail สอบถามเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงินจากประชาชนถึง 20 คน ภายในเดือนเดียว พี่ตุ๊กตา จึงรวบรวมเรื่องนี้มานำเสนอเป็นความรู้กฎหมายสู่ประชาชนค่ะ

 

หลักกฎหมาย    -    พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

 

มาตรา 3  ในพระราชบัญญัตินี้
          "ความผิดมูลฐาน" หมายความว่า
          (1) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติดหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำ
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
          (2) ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา เฉพาะที่
เกี่ยวกับการเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารหญิงและเด็ก เพื่อ
สนองความใคร่ของผู้อื่นและความผิดฐานพรากเด็กและผู้เยาว์ ความผิดตามกฎหมาย
ว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก หรือความผิดตาม
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เฉพาะที่เกี่ยวกับการ
เป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณี หรือความผิด
เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการกิจการค้าประเวณี
หรือสถานการค้าประเวณี หรือเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้า
ประเวณี
          (3) ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา
หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
          (4) ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อ ทรัพย์
หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือกฎหมาย
ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกระทำโดย กรรมการ ผู้จัดการ หรือ
บุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบัน
การเงิน นั้น
          (5) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิด
ของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือ
ทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
          (6) ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ที่กระทำโดย
อ้างอำนาจอั้งยี่ หรือซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา
          (7) ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วย
ศุลกากร
          "ธุรกรรม" หมายความว่า กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญา
หรือการดำเนินการใด ๆ กับผู้อื่น ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการ
เกี่ยวกับทรัพย์สิน
          "ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย" หมายความว่า ธุรกรรมที่มีความ
ซับซ้อนผิดไปจากการทำธุรกรรมในลักษณะเดียวกันที่ท ำกันอยู่ตามปกติ ธุรกรรม
ที่ขาดความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากระทำขึ้น
เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือธุรกรรมที่
เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการ
ทำธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง

          "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" หมายความว่า
(1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน
หรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน
(2) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วย
ประการใด ๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินตาม (1) หรือ
(3) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินตาม (1) หรือ (2)
ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินตาม (1) (2) หรือ (3) จะมีการจำหน่าย
จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้งและไม่ว่าจะอยู่ในความครอบครองของ
บุคคลใด โอนไปเป็นของบุคคลใด หรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของ
บุคคลใด

มาตรา 5  ผู้ใด
          (1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำ
ความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
ไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง
ในความผิดมูลฐาน หรือ
          (2) กระทำด้วยประการใด  ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่
แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สิน
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
          ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

มาตรา 6  ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน แม้จะกระทำนอก
ราชอาณาจักรผู้นั้นจะต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ถ้าปรากฏว่า
(1) ผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมกระทำความผิดคนใดคนหนึ่งเป็น
คนไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
(2) ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และได้กระทำโดยประสงค์
ให้ความผิดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือรัฐบาลไทยเป็นผู้เสียหาย หรือ
(3) ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และการกระทำนั้นเป็นความผิด
ตามกฎหมายของรัฐที่การกระทำเกิดขึ้นในเขตอำนาจของรัฐนั้น หากผู้นั้นได้ปรากฏ
ตัวอยู่ในราชอาณาจักรและมิได้มีการส่งตัวผู้นั้นออกไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่ง
ผู้ร้ายข้ามแดน
ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดย
อนุโลม

มาตรา 7  ในความผิดฐานฟอกเงิน ผู้ใดกระทำการอย่างใด
อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
( 1) สนับสนุนการกระทำความผิดหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อน
หรือขณะกระทำความผิด
(2) จัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ยานพาหนะ สถานที่ หรือวัตถุ
ใด ๆ หรือกระทำการใด ๆ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือเพื่อมิให้
ผู้กระทำความผิดถูกลงโทษ หรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการกระทำความผิด
ผู้ใดจัดหาหรือให้เงินหรือทรัพย์สิน ที่พำนัก หรือที่ซ่อนเร้น เพื่อช่วย
บิดา มารดา บุตร สามี หรือภริยาของตนให้พ้นจากการถูกจับกุม ศาลจะไม่ลงโทษ
ผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

มาตรา 8  ผู้ใดพยายามกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษ
ตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ

มาตรา 9  ผู้ใดสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำ
ความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบ
กันตามวรรคหนึ่ง ผู้สมคบกันนั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ในกรณีที่ความผิดได้กระทำถึงขั้นลงมือกระทำความผิด แต่เนื่องจาก
การ เข้าขัดขวางของผู้สมคบทำให้การกระทำนั้นกระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไป
ตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้สมคบที่กระทำการขัดขวางนั้น คงรับโทษ
ตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งเท่านั้น
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งกลับใจให้ความจริงแห่งการสมคบ
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดตามที่ได้สมคบกัน ศาลจะไม่
ลงโทษผู้นั้นหรือลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้

มาตรา 46  ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่าบัญชีลูกค้าของ
สถาบันการเงิน เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใด
ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน พนักงาน
เจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลแพ่ง
เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสาร หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นก็ได้
          ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ศาลจะสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ยื่น
คำขอดำเนินการโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้
ให้อนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวัน
          เมื่อศาลได้สั่งอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว
ผู้เกี่ยวข้องกับบัญชีข้อมูลทางการสื่อสาร หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งดังกล่าว
จะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้

มาตรา 48  ในการตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำ
ธุรกรรม หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือ
ซ่อนเร้นทรัพย์สินใดที่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้คณะกรรมการ
ธุรกรรมมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินเก้าสิบวัน
          ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน เลขาธิการจะสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน
ตามวรรคหนึ่งไปก่อนแล้วรายงานต่อคณะกรรมการธุรกรรม
          การตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
          ผู้ทำธุรกรรมซึ่งถูกสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน หรือผู้มีส่วนได้เสียใน
ทรัพย์สินจะแสดงหลักฐานว่าเงินหรือทรัพย์สินในการทำธุรกรรมนั้นมิใช่ทรัพย์สิน
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึ ดหรืออายัดก็ได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
          เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี สั่งยึดหรือ
อายัดทรัพย์สินหรือสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นแล้ว ให้คณะกรรมการ
ธุรกรรมรายงานต่อคณะกรรมการ

มาตรา 49  ภายใต้บังคับมาตรา 48 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ปรากฏ
หลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ให้เลขาธิการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง
ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินโดยเร็ว
          ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์พอที่จะ
ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตกเป็นของแผ่นดินได้
ให้พนักงานอัยการรีบแจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อดำเนินการต่อไป โดยให้ระบุ
ข้อที่ไม่สมบูรณ์นั้นให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน
          ให้เลขาธิการรีบดำเนินการตามวรรคสองแล้วส่งเรื่องเพิ่มเติมไปให้
พนักงานอัยการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หากพนักงานอัยการยังเห็นว่าไม่มีเหตุพอที่จะ
ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนตกเป็นของแผ่นดิน
ให้พนักงานอัยการรีบแจ้งให้เลขาธิการทราบเพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัย
ชี้ขาดให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่ได้รับ
เรื่องจากเลขาธิการ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดเป็นประการใดให้พนักงาน
อัยการและเลขาธิการปฏิบัติตามนั้น หากคณะกรรมการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดภายใน
กำหนดเวลาดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามความเห็นของพนักงานอัยการ
          เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดไม่ให้ยื่นคำร้องหรือไม่วินิจฉัย
ชี้ขาดภายในกำหนดระยะเวลาและได้ปฏิบัติตามความเห็นของพนักงานอัยการ
ตามวรรคสามแล้ว ให้เรื่องนั้นเป็นที่สุด และห้ามมิให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับ
บุคคลนั้นในทรัพย์สินเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญ
ซึ่งน่าจะทำให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของบุคคลนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้
          เมื่อศาลรับคำร้องที่พนักงานอัยการยื่นต่อศาลแล้ว ให้ศาลสั่งให้
ปิดประกาศไว้ที่ศาลนั้น และประกาศอย่างน้อยสองวันติดต่อกันในหนังสือพิมพ์ที่มี
จำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นเพื่อให้ผู้ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสีย
ในทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอก่อนศาลมีคำสั่งกับให้ศาลสั่งให้ส่งสำเนาประกาศไปยัง
เลขาธิการเพื่ อปิดประกาศไว้ที่สำนักงานและสถานีตำรวจท้องที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่
และถ้ามีหลักฐานแสดงว่าผู้ใดอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน
ก็ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งให้ผู้นั้นทราบ เพื่อใช้สิทธิดังกล่าว การแจ้งนั้นให้แจ้ง
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ครั้งหลังสุดของผู้นั้นเท่าที่ปรากฏใน
หลักฐาน
          ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้ามีเหตุสมควรที่จะดำเนินการเพื่อคุ้มครอง
สิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ให้เลขาธิการส่งเรื่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานนั้นดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อคุ้มครอง
สิทธิของผู้เสียหายก่อน

มาตรา 50  ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอ
ให้ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 อาจยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำสั่งตามมาตรา 51
โดยแสดงให้ศาลเห็นว่า
(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ
การกระทำความผิด หรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาโดยสุจริต
และตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ
ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้
ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 อาจยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตนก่อนศาล
มีคำสั่ง โดยแสดงให้ศาลเห็นว่าตนเป็นผู้รับประโยชน์โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
หรือได้มาซึ่งประโยชน์โดยสุจริตและตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทาง
กุศลสาธารณะ

มาตรา 51  เมื่อศาลทำการไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการ
ตามมาตรา 49 แล้ว หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ
การกระทำความผิด และคำร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับโอน
ทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ฟังไม่ขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็น
ของแผ่นดิน
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ หากผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอน
ทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์
กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
บรรดาทรัพย์สินดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอน
มาโดยไม่สุจริต แล้วแต่กรณี

มาตรา 52  ในกรณีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 ถ้าศาลทำการไต่สวนคำร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประ โยชน์ตาม มาตรา 50 วรรคสอง แล้วเห็นว่าฟังขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของผู้รับ
ประโยชน์โดยจะกำหนดเงื่อนไขด้วยก็ได้
         
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ หากผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ตาม

มาตรา 50 วรรคสอง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำ
ความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผลประโยชน์
ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่มีอยู่หรือได้มาโดยไม่สุจริต

มาตรา 53  ในกรณีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม
มาตรา 51 หากปรากฏในภายหลังโดยคำร้องของเจ้าของ ผู้รับโอน หรือผู้รับ
ประโยชน์ทรัพย์สินนั้น ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่ากรณีต้องด้วยบทบัญญัติของมาตรา 50
ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้นหรือกำหนดเงื่อนไขในการคุ้มครองสิทธิของผู้รับประโยชน์
หากไม่สามารถคืนทรัพย์สินหรือคุ้มครองสิทธิได้ให้ใช้ราคาหรือค่าเสียหายแทน
แล้วแต่กรณี
คำร้องตามวรรคหนึ่งจะต้องยื่นภายในหนึ่งปีนับแต่คำสั่งศาลให้
ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินถึงที่สุด และผู้ร้องต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่สามารถ
ยื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 50 ได้ เพราะไม่ทราบถึงประกาศหรือหนังสือแจ้ง
ของเลขาธิการหรือมีเ หตุขัดข้องอันสมควรประการอื่น
ก่อนศาลมีคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลแจ้งให้เลขาธิการทราบถึง
คำร้องดังกล่าว และให้โอกาสพนักงานอัยการเข้ามาโต้แย้งคำร้องนั้นได้

มาตรา 54  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำ
ความผิดตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 หากปรากฏว่ามีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ
การกระทำความผิดเพิ่มขึ้นอีก ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง
ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้ และให้นำความในหมวดนี้มาใช้บังคับโดย
อนุโลม

มาตรา 55  หลังจากที่พนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องตามมาตรา 49
หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย หรือยักย้ายไปเสียซึ่งทรัพย์สิน
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด เลขาธิการจะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำขอ
ฝ่ายเดียวร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราวก่อนมีคำสั่งตาม
มาตรา 51 ก็ได้ เมื่อได้รับคำขอดังกล่าวแล้วให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน
ถ้ามีหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าคำขอนั้นมีเหตุอันสมควร ให้ศาลมีคำสั่งตามที่ขอโดย
ไม่ชักช้า

มาตรา 56  เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี
ได้มีคำสั่งให้ยึดหรื ออายัดทรัพย์สินใดตามมาตรา 48 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามคำสั่ง แล้วรายงานให้ทราบ
พร้อมทั้งประเมินราคาทรัพย์สินนั้นโดยเร็ว
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินและการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรือ
อายัดไว้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดย
อนุโลม

มาตรา 57  การเก็บรักษาและการจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการ
ธุรกรรมหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งยึดหรืออายัดไว้ ให้เป็นไปตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือ
หากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมี
ประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด หรือนำไปใช้เพื่อ
ประโยชน์ของทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้
การให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ การนำ
ทรัพย์สินออกขายทอดตลาดหรือการนำทรัพ ย์สินไปใช้ประโยชน์ของทางราชการ
ตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าความปรากฏในภายหลังว่า ทรัพย์สินที่นำออกขายทอดตลาดหรือ
ที่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามวรรคสอง มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ
การกระทำความผิดให้คืนทรัพย์สินนั้นพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสื่อมสภาพ
ตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด ให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ถ้าไม่อาจคืน
ทรัพย์สินได้ ให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาที่ประเมินได้ในวันที่ยึดหรืออายัด
ทรัพย์สิน หรือตามราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝาก
ประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่ได้รับคืนหรือชดใช้ราคา
แล้วแต่กรณี
การประเมินค่าเสียหายและค่าเสื่อมสภาพตามวรรคสี่ ให้เป็นไป
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 58  ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดใด เป็น
ทรัพย์สินที่สามารถดำเนินการตามกฎหมายอื่นได้อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีการดำเนินการ
กับทรัพย์สินนั้นตามกฎหมายดังกล่าว หรือดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่
ไม่เป็นผล หรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทาง
ราชการมากกว่า ก็ให้ดำเนินการกับทรัพย์สินนั้นต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 59  การดำเนินการทางศาลตามหมวดนี้ ให้ยื่นต่อศาลแพ่ง
และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในการนี้ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

มาตรา 60  ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 61  นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 7
มาตรา 8 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงาน
ของนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึง
สิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น

 

คำถาม ทั้ง 20 คำถาม จากประชาชน 20 ราย เป็นเรื่องความกังวลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ซึ่งได้มาในโอกาสและเวลาต่าง ๆ กลัวว่าจะถูกยึดหรืออายัดเป็นของหลวง Thai Law Consult จึง

1)    ขอนำฎีกาที่ 6602/2550 , 2770/2550 และ 2267/2550 มาให้อ่านกัน คงพอตอบคำถามได้บ้างนะครับ

2)    ขอนำข่าว การต่อสู้คดีของจำเลย คดีเสี่ยโอฬาร ที่ศาลยกฟ้อง จาก www.manager.co.th

 

ฎีกาที่ 6602/2550 เป็นเรื่อง ภาระการพิสูจน์ของฝ่ายโจทก์และจำเลยที่ยกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้

ฎีกาที่ 2770/2550 เป็นเรื่อง การปกปิดอำพราง ลักษณะที่แท้จริง

ฎีกาที่ 2267/2550 เป็นเรื่อง ที่โจทก์หรืออัยการมีหน้าที่นำสืบให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2550

ป.อ. มาตรา 2
ป.วิ.อ. มาตรา 46
ป.วิ.พ. มาตรา 167
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3, 49, 50, 51, 59

          พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 ให้คำจำกัดความคำว่า “ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด” ไว้แล้ว ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจึงมิได้หมายความว่า ต้องเป็นทรัพย์สินในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำ ผิดและถูกลงโทษเท่านั้น เพียงแต่หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากกการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าวหรือเป็นดอกผลของทรัพย์สินจากการกระทำดัง กล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว
          ทรัพย์สินรายการที่ (1) ถึง (13) และ (17) ถึง (23) เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมา ก่อนต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคสอง คือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
          ทรัพย์สินรายการที่ (14) ถึง (16) และ (24) ผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิด มูลฐานมาก่อน เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงโดยรับโอนมาจากผู้คัดค้านที่ 2 และมีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น ปลูกอยู่บนที่ดินต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 (2) คือ ผู้คัดค้านที่ 3 ต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับโอนที่ดินทั้งสามแปลงโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนและเป็นเจ้าของอาคาร ดังกล่าว
          พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินดังกล่าวมิใช่ความรับผิดทาง แพ่งตามความหมายของคำว่า “การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง” ในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาเพียงแต่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็น ของแผ่นดินต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านหรือจำเลยในคดีอาญาจะได้กระทำความ ผิดหรือศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหรือไม่ คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 46
          พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและมาตรการ ทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ในกรณีที่ศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำ ความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้ มาก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาจึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
          พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง บัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ก็ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชา ธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง

________________________________

          ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 เวลากลางวันเจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 27 - 28 ถนนสายพระนครศรีอยุธยา - สุพรรณบุรี ผู้คัดค้านที่ 1 ขับรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า คัมรี หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก - 0352 พระนครศรีอยุธยา มาถึงจุดตรวจโดยมีผู้คัดค้านที่ 2 และบุคคลอื่นนั่งมาด้วย ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กับพวกมีอาการพิรุธ เจ้าพนักงานตำรวจจึงขอตรวจค้นรถ พบทรัพย์สินและเงินสดจำนวนมากจึงยึดเป็นของกลางและจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ดำเนินคดีฐานร่วมกันฟอกเงิน และได้แจ้งให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการ ตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของผู้คัดค้านทั้งสาม ตามที่ได้รับแจ้งจากรองผู้กำกับการ (หัวหน้า) สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางซ้าย ว่าทรัพย์สินรวม 24 รายการ มูลค่า 38,229,370.01 บาท ของผู้คัดค้านทั้งสาม เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้ กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว และคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาหลักฐานตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วมี มติให้ส่งเรื่องให้ผู้ร้องดำเนินการต่อไป ขอให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 7 พร้อมดอกผลที่เกิดมีขึ้นตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบ ปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49, 51
          ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนและประกาศตามกฎหมายแล้ว
          ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านว่า ทรัพย์สินตามคำร้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งได้มาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ขอให้ยกคำร้อง
          ระหว่างไต่สวน ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงแก่ความตาย เด็กชายวัชระโดยผู้คัดค้านที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า คัมรี หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก - 0352 พระนครศรีอยุธยา กับเงินสดจำนวน 5,237,320 บาท สร้อยคอทองคำ 15 เส้น สร้อยข้อมือทองคำ 8 เส้น สร้อยข้อมือทองคำฝังเพชร 3 เส้น กำไลข้อมือทองคำ 5 อัน กรอบพระเลี่ยมทองคำ 5 อัน จี้เรือนประดับด้วยหินสีขาว 1 อัน ทองคำแท่ง 1 แท่ง แหวนทองคำ 5 วง ต่างหูทองคำ 17 อัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อโนเกีย 3 เครื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อโมโตโรล่า 1 เครื่อง ที่ดินโฉนดเลขที่ 21890 เลขที่ 202173 เลขที่ 202174 และเลขที่ 202178 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ เงินฝากที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาพระราม 4 เลขที่บัญชี 019-2-25357-9 จำนวนเงิน 1,500,000.79 บาท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองเตย เลขที่บัญชี 017-2-81434-4 จำนวนเงิน 1,270,795.04 บาท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองเตย เลขที่บัญชี 015-3-33095-6 จำนวน 22,835.35 บาท และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสำโรง เลขที่บัญชี 122-5-21089-5 จำนวนเงิน 2,165,498.83 บาท พร้อมด้วยดอกผล รถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ หมายเลขทะเบียน ลก 8554 กรุงเทพมหานคร อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พร้อมสระว่ายน้ำบนที่ดินโฉนดเลขที่ 202078 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ และอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21890 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ ตามบัญชีทรัพย์สินเอกสารหมาย ร.5 ซึ่งให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งนี้ ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
          ผู้คัดค้านทั้งสามอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          ผู้คัดค้านทั้งสามฎีกา
          ศาลฎีกาคณะคดีปกครองวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 เวลา 10.30 นาฬิกา ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางซ้าย ตั้งจุดตรวจที่บริเวณถนนสายพระนครศรีอยุธยา - สุพรรณบุรี หมู่ที่ 1 ตำบลบางซ้าย อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า คัมรี หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก - 0352 พระนครศรีอยุธยา แล่นผ่านมาเจ้าพนักงานตำรวจเรียกให้จอดปรากฏว่ามีผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ขับรถและผู้คัดค้านที่ 2 กับพวกอีกหลายคนนั่งมาในรถ เมื่อมีการตรวจค้นรถ พบเงินสดและทองรูปพรรณจำนวนมากบรรจุอยู่ในกระเป๋าเดินทางในกระโปรงท้ายรถ จึงยึดไว้เป็นของกลาง และควบคุมตัวผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กับพวกพร้อมของกลางไปที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางซ้ายเพื่อทำการสอบสวน จากนั้นรองผู้กำกับการ (หัวหน้า) สถานีตำรวภูธรอำเภอบางซ้ายทำรายงานการจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กับพวก และรายงานการยึดของกลางไปยังเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ยึดและอายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวรวม 20 รายการ ตามสำเนาเอกสารหมาย ร.1 ซึ่งคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเชื่อว่าทรัพย์สินรวม 24 รายการ ตามเอกสารหมาย ร.5 คือ (1) รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า คัมรี หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก - 0352 พระนครศรีอยุธยา (2) ธนบัตรรัฐบาลไทยชนิดต่างๆ รวม 5,237,320 บาท (3) สร้อยคอทองคำ 15 เส้น (4) สร้อยข้อมือทองคำ 8 เส้น (5) สร้อยข้อมือทองคำฝังเพชร 3 เส้น (6) กำไลทองคำ 5 อัน (7) กรอบเลี่ยมพระเครื่อง 5 อัน (8) จี้ประดับหินสีขาวคล้ายเพชร 1 อัน (9) ทองคำแท่ง 1 แท่ง (10) แหวนทองคำ 5 วง (11) ต่างหูทองคำ 17 อัน (12) โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อโนเกีย 3 เครื่อง (13) โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อโมโตโรล่า 1 เครื่อง (14) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 21890 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวังสมุทรปราการ (15) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 202173 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ (16) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 202174 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปรากร (17) เงินฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาพระราม 4 เลขที่บัญชี 019-2-25357-9 (18) เงินฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองเตย เลขที่บัญชี 017-2-81434-4 (19) เงินฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองเตย เลขที่บัญชี 015-3-3095-6 (20) รถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ หมายเลขทะเบียน ลก 8554 กรุงเทพมหานคร (21) เงินฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสำโรง เลขที่บัญชี 122-5-21089-5 (22) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 202178 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ (23) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พร้อมสระว่ายน้ำ บนที่ดินโฉนดเลขที่ 202178 (24) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21890 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดอันเป็นการกระทำความผิดมูลฐาน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงส่งเรื่องให้ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสามในประการแรกว่า ผู้ร้องมีภาระการพิสูจน์ว่า ผู้คัดค้านทั้งสามเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายยาเสพติดและทรัพย์สินดังกล่าวเป็น ทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือไม่ โดยผู้คัดค้านทั้งสามฎีกาว่า ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินตามคำร้องได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือจากการสนับสนุน หรือช่วยเหลือการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันจะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานและพยานผู้ร้องมีแต่ เพียงความเห็นเท่านั้น มิได้อ้างคำพิพากษาของศาลที่ผู้คัดค้านที่ 1 เคยถูกฟ้องในข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ไม่เคยมีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ นั้นเห็นว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 อาจยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำสั่งตามมาตรา 51 โดยแสดงให้ศาลเห็นว่า
          (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือ
          (2) ตนเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือได้มาโดยสุจริต และตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ”
          มาตรา 51 บัญญัติว่า
          “เมื่อศาลทำการไต่สวนคำร้องของพนักงานอัยการตามมาตรา 49 แล้ว หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิด และคำร้องของผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับโอนทรัพย์สินตาม มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ฟังไม่ขึ้น ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
          เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ หากผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการ กระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต แล้วแต่กรณี”
          ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตกเป็น ของแผ่นดินสามารถแยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50 เป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิด มูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน จะต้องแสดงให้ศาลเห็นรวม 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องแสดงว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและประการที่สอง ต้องแสดงว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือตนเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือได้มาโดยสุจริตและตามสมควร ในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณะ และกรณีที่ 2 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ทั้งมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำจำกัดความ “ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำ ความผิด” หมายความว่า
          “(1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือการสนับสนุน หรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน
          (2) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินตาม (1) หรือ
          (3) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินตาม (1) หรือ (2)
          ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจึงมิได้หมายความว่าต้องเป็นทรัพย์สิน ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้กระทำความผิดและถูกลงโทษ เท่านั้นไม่ เพียงแต่หากปรากฏว่า มีการกระทำความผิดมูลฐานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดจะถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าว หรือเป็นดอกผลของทรัพย์จากการกระทำดังกล่าว ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดแล้ว กรณีจึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าผู้คัดค้านกระทำการดังกล่าว หรือเป็นดอกผลของทรัพย์สินจากการกระทำดังกล่าวก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านทั้งสาม เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือ ความผิดฐานฟอกเงินมาก่อนหรือไม่ และทรัพย์สินตามบัญชีในสำเนาเอกสารหมาย ร.5 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือไม่ ในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 นั้น ผู้ร้องมีจ่าสิบตำรวจเชษฐวิทย์ ผู้บังคับหมู่สถานนีตำรวจนครบาลท่าเรือเป็นพยานเบิกความว่า พยานสืบทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะขายส่งครั้งละ 50 มัด ถึง 60 มัด ให้แก่ลูกค้า และใช้เวลาขายครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง พยานเคยเข้าไปตรวจค้นบ้านผู้คัดค้านที่ 1 ครั้งแรกพบเงินสด 500,000 บาท ถึง 600,000 บาท ไม่พบยาเสพติดให้โทษจึงได้ทำบันทึกการตรวจค้นและปล่อยตัวไป ครั้งที่ 2 เข้าไปตรวจค้นเมื่อได้รับแจ้งจากสายลับว่ามีการนำเมทแอมเฟตามมีนมาที่บ้าน ดังกล่าว ผลการตรวจค้นพบเศษของเม็ดเมทแอมเฟตามีนเป็นซีกบ้าง ครึ่งเม็ดบ้าง ตกอยู่ที่เบาะรถยนต์กระบะของผู้คัดค้านที่ 1 รวมกันแล้วได้ 2 เม็ด ถึง 3 เม็ด พยานแจ้งข้อหาแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ว่า มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และดำเนินคดีแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งศาลพิพากษารอการลงโทษจำคุกไว้ ผู้คัดค้านที่ 1 พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และเปิดบ้านเป็นร้านขายของชำเล็กๆ ตามภาพถ่ายหมาย ร.6 ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 มีพฤติการณ์วิ่งเต้นช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมมาที่สถานีตำรวจนครบาล ท่าเรือ และเคยเปิดร้านคาราโอเกะที่ชุมชนคลองเตยล็อก 1 เมื่อปี 2542 แต่ปิดร้านเมื่อปี 2543 ร้อยตำรวจเอกเพทายเป็นพยานเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงในทำนองเดียวกันดัง กล่าวและเบิกความว่า พยานเคยวางแผนล่อซื้อยาเสพติดให้โทษจากผู้คัดค้านที่ 1 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 รู้ตัวเพราะผู้คัดค้านที่ 1 จะไม่จำหน่ายยาเสพติดให้โทษให้แก่ผู้ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน วิธีการจำหน่ายก็ติดต่อทางโทรศัพท์และให้ลูกน้องเป็นผู้รับส่งยาเสพติดให้ โทษให้แก่ลูกค้าแทน ร้อยตำรวจเอกวิชัย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางซ้ายเป็นพยานเบิกความว่า เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ขับรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า ค้มรี หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก - 0352 พระนครศรีอยุธยา มาถึงบริเวณที่พยานกับพวกตั้งจุดตรวจอยู่ พยานกับพวกตรวจค้นที่กระโปรงท้ายรถ พบเงินสดเป็นมัดๆ บรรจุอยู่ในกระเป๋าใบใหญ่ มีทั้งธนบัตรชนิด 10 บาท 20 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท ตรวจนับในเบื้องต้นได้ 4,000,000 บาท เศษ ผู้คัดค้านที่ 1 แจ้งว่าเป็นเพียงคนขับรถ ผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งว่าเบิกเงินมาเพื่อนำไปซื้อที่ดินที่จังหวัดกาญจนบุรี นางสาวอนงค์ซึ่งนั่งมาในรถแจ้งว่าเป็นธนบัตรย่อยที่แลกมาไว้เพื่อใช้ในการ ทอนเงินในร้านขายของชำ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 บอกพยานว่าทั้งหมดยกให้แต่ขอให้ปล่อยรถยนต์เก๋งกับทุกคนที่นั่งมาในรถ พยานเห็นเป็นพิรุธจึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและควบคุมตัวผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กับพวก พร้อมทั้งนำรถยนต์คันดังกล่าวไปที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางซ้ายเพื่อตรวจค้น โดยละเอียด ผลการตรวจค้นพบเงินสดเพิ่มอีก 1,000,000 บาทเศษ ทองรูปพรรณหลายรายการและทองคำแท่งมีน้ำหนักรวมกัน 100 บาทเศษ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครื่อง โฉนดที่ดิน 3 ฉบับ สมุดเงินฝากธนาคาร 3 เล่ม รายละเอียดปรากฏตามบันทึกการตรวจค้นเอกสารหมาย ร.9 และ ร.10 พยานสอบปากคำผู้ที่เดินทางมาพร้อมกัน ได้แก่นางสาวอนงค์ซึ่งให้การว่าเงินสดได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ผู้คัดค้านที่ 2 ให้การว่าเงินสดเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและหลบหนีการกวาดล้างที่ชุมชนคลองเตยมา พันตำรวจตรีพีระพล เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นพยานเบิกความว่า พยานเป็นผู้สอบสวนคดีนี้ และทำบันทึกคำให้การของผู้คัดค้านที่ 1 ไว้ตามเอกสารหมาย ร.19 มีรายละเอียดว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในชุมชนคลองเตย เมื่อประมาณ พ.ศ.2541 และได้เลิกจำหน่ายก่อนถูกจับกุม 2 เดือน รถยนเก๋งยี่ห้อโตโยต้า คัมรี หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก - 0352 พระนครศรีอยุธยา ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ออกเงินซื้อจำนวน 1,340,000 บาท แต่ระบุชื่อนางอนงค์เป็นผู้ซื้อ เหตุที่นำทรัพย์สินจำนวนมากมาไว้ในรถยนต์คันดังกล่าวก็เนื่องจากก่อนถูกจับ กุมผู้คัดค้านที่ 1 ถูกผู้มีอิทธิพลกรรโชกทรัพย์ได้จ่ายเงินให้ไปครั้งละหลายแสนบาท และถูกข่มขู่ว่าจะถูกวิสามัญฆาตกรรม จึงรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดและพาครอบครัวหลบหนีจนกระทั่งมาถูกจับกุมตัว โดยพยานดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานของรัฐต่างเบิกความไปตามที่ได้ปฏิบัติ หน้าที่ ทั้งทรัพย์สินที่ตรวจค้นพบมีเป็นจำนวนมาก ผิดปกติวิสัยของวิญญูชนที่จะนำมาเก็บไว้ที่กระโปรงท้ายรถยนต์ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าทรัพย์สินตามสำเนาเอกสารหมาย ร.5 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 พยานหลักฐานของผู้ร้องมิได้ยืนยันว่าผู้คัดค้านที่ 3 เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานแต่ประการใด พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 3 เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อนแต่ ทรัพย์สินตามสำเนาเอกสารหมาย ร.5 รายการที่ (1) ถึง (13) และ (17) ถึง (23) เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 กรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคสอง กล่าวคือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ ส่วนทรัพย์สินรายการที่ (14) ถึง (16) และ (24) ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงซึ่งรับโอนมาจากผู้คัดค้าน ที่ 2 และมีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น ปลูกอยู่บนที่ดิน กรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 (2) คือ ผู้คัดค้านที่ 3 ต้องแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับโอนที่ดินทั้งสามแปลงโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนและเป็นเจ้าของอาคาร ดังกล่าว แต่ในทางไต่สวนในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 มีผู้คัดค้านที่ 2 เป็นพยานเบิกความว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ประกอบอาชีพขายของชำโดยตั้งร้านค้าอยู่ที่บ้านเลขที่ 101/130 ชุมชนคลองเตยล็อก 6 ตั้งแต่ปี 2533 ปล่อยเงินกู้และเป็นนายวงแชร์ มีกำไรจากการค้าขายเดือนละ 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้รายวัน วันละประมาณ 10,000 บาท และรายเดือน เดือนละประมาณ 300,000 บาท มีรายได้จากการเล่นแชร์ 6 วง วงละไม่ต่ำกว่า 10 มือ ได้ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ยจากผู้ที่ประมูลแชร์ วันละ 10,000 บาทเศษ ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 มีรายได้จากการเล่นการพนันมวยและไพ่ป๊อกเด้ง ผู้คัดค้านที่ 1 ให้เงินแก่ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อเล่นการพนันได้เฉลี่ยเดือนละ 300,000 บาท และเคยให้เงินถึงครั้งละ 1,000,000 บาท หลายครั้ง ทรัพย์สินตามรายการที่ (3) ถึง (11) เป็นของผู้คัดค้านที่ 2 ทยอยซื้อมาตั้งแต่ปี 2534 ถึงปี 2543 บัญชีเงินฝากตามรายการที่ (17) ถึง (19) และ (21) ผู้คัดค้านที่ 2 เปิดไว้เพื่อฝากและถอนเงินที่ได้จากการค้าขายปล่อยเงินกู้และเล่นแชร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ตามรายการที่ (13) และรถยนต์กระบะตามรายการที่ (20) เป็นของผู้คัดค้านที่ 2 โดยนำเงินที่ได้จากการขายของชำ ปล่อยเงินกู้และการเล่นแชร์ไปเช่าซื้อมา ส่วนรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า คัมรี ตามรายการที่ (1) ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซื้อจากบริษัทโตโยต้าอยุธยา จำกัด เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 ราคา 1,300,000 บาทเศษ โดยนำเงินสดที่ได้จากการเล่นการพนันไปชำระ และเงินสดตามรายการที่ (2) ผู้คัดค้านที่ 1 ได้มาจากการเล่นการพนัน ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่เคยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ค้ายาเสพติดและเงินที่มีนั้นได้มาจากการค้ายาเสพติด แต่ผู้คัดค้านที่ 2 เบิกความตอบผู้ร้องถามค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้คัดค้านที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534 ขณะที่มีอายุ 19 ปี ขณะนั้นผู้คัดค้านที่ 1 เป็นลูกจ้างผู้คัดค้านที่ 3 มีเงินเดือน เดือนละ 5,000 บาท ถึง 6,000 บาท ไม่มีบ้านหรือทรัพย์สินใดเป็นของตนเอง ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่เคยเสียภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้ส่วนบุคคล การปล่อยเงินกู้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การเล่นแชร์มือละ 50,000 บาท ถึง 60,000 บาท ลูกวงแชร์ชื่อ จุ๋ม หนุ่ย ต้อย ญา เล็ก ไม่ทราบชื่อและนามสกุลจริง นางจำเนียร เบิกความว่า พยานเล่นแชร์กับผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 2 มือ มือละ 100 บาท นายประจวบ เบิกความว่า พยานเคยกู้เงินผู้คัดค้านที่ 2 ครั้งละ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน นางอนงค์ เบิกความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ใส่ชื่อพยานเป็นเจ้าของรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า คัมรี เพราะผู้คัดค้านที่ 1 เล่นการพนันและมีหนี้สินมากเกรงว่าเจ้าหนี้จะมาทวง ผู้คัดค้านที่ 3 เบิกความว่า เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ผู้คัดค้านที่ 2 บอกให้ผู้คัดค้านที่ 3 ช่วยขายที่ 3 แปลง เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 1 เป็นหนี้การพนันจำนวน 10,000,000 บาทเศษ พยานของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงเบิกความขัดแย้งกันเอง และเมื่อพิจารณาถึงสภาพร้านค้าของชำของผู้คัดค้านที่ 2 ตามภาพถ่ายหมาย ร.6 มีสภาพเป็นห้องแถวไม้หลังคาเป็นเพิงสังกะสี มีสินค้าไม่มากนัก ไม่น่าเชื่อว่าจะขายได้กำไรเป็นเงินถึงเดือนละ 50,000 บาท ถึง 100,000 บาท นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 มิได้นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการกินอยู่และค่าใช้สอยส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 และครอบครัว เช่น ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีเป็นประจำอีกด้วย ทั้งจำนวนรายได้ที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 นำสืบมีแต่คำเบิกความของผู้คัดค้านที่ 2 เพียงลอยๆ โดยไม่มีพยานเอกสารสนับสนุน และขัดแย้งกับพยานปากอื่นๆ ของผู้คัดค้านที่ 2 เองที่ยืนยันว่าเล่นแชร์กับผู้คัดค้านที่ 2 เพียงมือละ 100 บาท และกู้เงินจากผู้คัดค้านที่ 2 เป็นเงิน 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท เท่านั้น จึงไม่น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 มีเงินที่ได้จากการประกอบอาชีพดังกล่าวไปซื้อทรัพย์สินตามรายการที่ (3) ถึง (11) (13) (22) และ (23) และมีเงินฝากจำนวนมากตามรายการที่ (17) ถึง (19) และ (21) ได้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 เริ่มต้นจากการเป็นลูกจ้างผู้คัดค้านที่ 3 ได้เงินเดือนเพียงเดือนละ 5,000 บาท ถึง 6,000 บาท ไม่มีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง ต้องไปอาศัยผู้คัดค้านที่ 2 และเล่นการพนันมวยและไพ่ป๊อกเด้ง จึงไม่น่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านที่ 1 จะมีเงินสดจำนวนมากถึง 5,237,320 บาท ตามรายการที่ (2) จากการเล่นการพนันเท่านั้น และนำเงินสดจากการเล่นการพนันไปซื้อทรัพย์สินตามรายการที่ (1) และ (12) ได้ พยานหลักฐานของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยว กับการกระทำความผิด กรณีจึงต้องรับฟังว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามข้อ สันนิษฐานของกฎหมาย ส่วนทรัพย์สินรายการที่ (14) ถึง (16) ซึ่งเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 21890, 202173 และ 202174 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 5 ชั้น รายการที่ (24) นั้น ผู้คัดค้านที่ 3 ประกอบอาชีพค้าขายเครื่องเหล็กก่อสร้างทุกชนิดในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดอโน ทัยมงคลโลหะเจริญ (1996) ห้างฯ มีเงินสดประมาณ 5,000,000 บาท ลูกค้าซื้อสินค้าเป็นเงินสด ผู้คัดค้านที่ 3 มีรายได้จากการขายเหล็กเส้นเดือนละ 700,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท เมื่อเดือนมีนาคม 2543 ผู้คัดค้านที่ 3 ตกลงซื้อที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวด้วยวาจาจากผู้คัดค้านที่ 2 ในราคา 4,500,000 บาท เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารพักอาศัยให้ผู้อื่นเช่า จากนั้นเมื่อเดือนเมษายน 2543 ได้ว่าจ้างให้นายเจียมก่อสร้างอาคาร 5 ชั้น ตามรายการที่ (24) ในราคา 7,500,000 บาท ต่อมาได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2543 โดยชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 4,000,000 บาท ยังคงค้างชำระ 500,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมอบโฉนดให้ผู้คัดค้านที่ 2 ยึดถือไว้เป็นประกัน เมื่อผู้คัดค้านที่ 3 ชำระเงินส่วนที่เหลือเสร็จแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ก็มอบโฉนดที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 3 มีบัญชีเงินฝากธนาคาร 3 บัญชี ตามเอกสารหมาย ค.1 ถึง ค.3 แต่คำเบิกความของผู้คัดค้านที่ 3 ดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีข้อพิรุธ กล่าวคือ ประการที่ 1 ที่ผู้คัดค้านที่ 3 เบิกความว่ามีรายได้จากการขายเหล็กเส้นเดือนละนับล้านบาทนั้น มีแต่คำเบิกความของผู้คัดค้านที่ 3 แต่เพียงลอยๆ โดยไม่มีเอกสารใดสนับสนุน เช่นแบบยื่นรายการเพื่อเสียภาษี ทั้งตามสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารเอกสารหมาย ค.1 กับสมุดเงินฝากธนาคารเอกสารหมาย ค.2 ของผู้คัดค้านที่ 3 และสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารเอกสารหมาย ค.3 ของห้างหุ้นส่วนจำกัดอโนทัยมงคลโลหะเจริญ (1996) มีเงินเหลืออยู่ในบัญชี 2,150 บาท 43,349.03 บาท และ 53,463.73 บาท ตามลำดับเท่านั้น ประการที่ 2 ที่ผู้คัดค้านที่ 3 เบิกความว่าซื้อที่ดินทั้งสามแปลงมาจากผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2543 ว่าจ้างให้นายเจียมก่อสร้างอาคารในราคา 7,500,000 บาท แต่จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2543 เป็นการผิดปกติวิสัยของวิญญูชนที่จะก่อสร้างอาคารในที่ดินของบุคคลอื่นโดย ที่ยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ ประการที่ 3 ที่ผู้คัดค้านที่ 3 อ้างว่าซื้อที่ดินทั้งสามแปลงในราคา 4,500,000 บาท แต่ปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ร.14 ว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 21890 นั้น ผู้คัดค้านที่ 2 เข้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันนางพรพิไลเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 โดยเสียค่าตอบแทน 1,500,000 บาท และในวันเดียวกันนี้นางพรพิไลขายที่ดินโฉนดเลขที่ 202173 และ 202174 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ในราคาแปลงละ 1,500,000 บาท ต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 นางพรพิไลขายส่วนของตนในที่ดินโฉนดเลขที่ 21890 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ในราคา 1,500,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 2 จึงซื้อที่ดินทั้งสามแปลงในราคา 6,000,000 บาท แต่ผู้คัดค้านที่ 2 ขายให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 ในราคารวมกัน 4,500,000 บาท ผิดปกติวิสัยของวิญญูชน ที่จะยอมขายขาดทุนถึง 1,500,000 บาท ในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ประการที่ 4 การที่ผู้คัดค้านที่ 3 ชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 4,000,000 บาท ยังคงค้างชำระ 500,000 บาท ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมอบโฉนดให้ผู้คัดค้านที่ 2 ยึดถือไว้ประกัน เมื่อผู้คัดค้านที่ 3 ชำระเงินส่วนที่เหลือเสร็จแล้ว ผู้คัดค้านที่ 3 ชำระเงินส่วนที่เหลือเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ก็จะมอบโฉนดที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 นั้น เป็นการผิดปกติวิสัยของวิญญูชน ที่จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาแล้ว แต่ยังไม่รับโฉนดที่ดินเชื่อได้ว่าเป็นเพียงการโอนเพื่อให้ผู้คัดค้านที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต พยานหลักฐานของผู้คัดค้านที่ 3 จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับโอนที่ดินทั้งสามแปลงตามรายการที่ (14) ถึง (16) มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างอาคาร 5 ชั้น ตามรายการที่ (24) ทรัพย์สินดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน
          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสามประการต่อไปว่า ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 หรือไม่ โดยผู้คัดค้านทั้งสามฎีกาว่า ศาลชั้นต้นเคยมีคำพิพากษาหรือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3271/2545 ให้ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 นายพัฒพงษ์และนางอนงค์ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ค.5 ศาลอาญาเคยมีคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย.9358/2545 ให้ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ตามสำเนาคำพิพากษาเอกสารหมาย ค.6 และศาลอาญาเคยมีคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ม.148/2545 ให้ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยว กับยาเสพติดตามสำเนาคำพิพากษาหมาย ค.7 คดีทั้งสามถึงที่สุดไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอาญาตามลำดับ เมื่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการดำเนินการทาง ศาล ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาดังกล่าว นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด มูลฐาน โดยมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินดังกล่าวมิใช่ความรับผิดทาง แพ่งตามความหมายของคำว่า “การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง” ในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา เพียงแต่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้อง ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านหรือจำเลยในคดีอาญาจะได้กระทำความ ผิดดังที่ผู้คัดค้านทั้งสามกล่าวอ้างในฎีกา หรือศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหรือไม่ คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 46
          มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2542 จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามที่ได้มาก่อนวันดัง กล่าวหรือไม่ เห็นว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความรับผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและ มาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในกรณีที่ศาลเชื่อว่าทรัพย์สิน ตาคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานโดยมิต้องคำนึงถึง ว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราช บัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ตามนัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 40 - 41/2546 ฎีกาของผู้คัดค้านทั้งสามทุกข้อฟังไม่ขึ้น
          อนึ่ง แม้ว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชา ธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ถูกต้อง”
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

( นันทชัย เพียรสนอง - ชาลี ทัพภวิมล - วีระวัฒน์ ปวราจารย์ )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2550

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5(2)

          ตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติว่า “การกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน” ในข้อนี้แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำนวน เงิน 710,000 บาท ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุม จำเลยที่ 1 และตรวจค้นพบเงินจำนวนดังกล่าวบรรจุอยู่ในกล่องสุราที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่ และจำเลยที่ 1 รับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาของเงินจำนวนนี้ในลักษณะที่ เป็นการฟอกเงิน กล่าวคือ ทำให้เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแปรสภาพเป็นเงินที่ได้มาโดย เสมือนหนึ่งถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานฟอกเงินตามฟ้อง

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 97, 100/1, 102 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3, 5, 60 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 83, 91, 92 ริบเมทแอมเฟตามีนและกระสุนปืน เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายและนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1238/2546 ของศาลจังหวัดอ่างทอง
          จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 1 รับว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษตามฟ้องและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม (ที่ถูก มาตรา 15 วรรคสาม (2) ด้วย), 97, 101/1, 102 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และจำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสอง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 60 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละตลอดชีวิต และปรับอีกสถานหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะของจำเลยทั้งสองและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว เห็นสมควรปรับคนละ 100,000 บาท ฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปรับจำเลยที่ 1 จำนวน 3,000 บาท ฐานฟอกเงิน จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี เนื่องจากลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุกตลอดชีวิตแล้วจึงไม่อาจเพิ่มโทษและนำโทษจำคุกฐานฟอกเงินมารวมอีกได้ คำรับสารภาพชั้นจับกุมและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 33 ปี 4 เดือน และปรับ 68,666 บาท ริบเมทแอมเฟตามีนและกระสุนปืน นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1238/2546 ของศาลจังหวัดอ่างทอง หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 เป็นจำคุก 33 ปี 4 เดือน และปรับ 66,666 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 22 ปี 2 เดือน 20 วัน และปรับ 44,444 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์และจำเลยที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ร้อยตำรวจเอกพีระพงษ์ ชูเกียรติชาติ กับพวก จับกุมจำเลยทั้งสองโดยยึดได้เมทแอมเฟตามีน 1,983 เม็ด น้ำหนัก 208.38 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 52.37 กรัม กระสุนปืนลูกกรดขนาด .22 จำนวน 50 นัด โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 เครื่อง รถจักรยานยนต์ 1 คัน และเงินสด 710,000 บาท เป็นของกลาง สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานมีเครื่อง กระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ฎีกา การกระทำของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฟอกเงินตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่าการที่จำเลยที่ 1 นำเงินจำนวน 710,000 บาท ซึ่งได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไปซุกซ่อนไว้ในกล่องสุรานั้นเป็นการ กระทำอันเป็นความผิดฐานฟอกเงินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (2) แล้ว เห็นว่า ตามมาตรา 5 (2) ดังกล่าวบัญญัติว่า “การกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน” ในข้อนี้แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำนวน เงิน 710,000 บาท ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุม จำเลยที่ 1 และตรวจค้นพบเงินจำนวนดังกล่าวบรรจุอยู่ในกล่องสุราที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่และจำเลยที่ 1 รับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาของเงินจำนวนนี้ในลักษณะที่ เป็นการฟอกเงิน กล่าวคือ ทำให้เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแปรสภาพเป็นเงินที่ได้มาโดย เสมือนหนึ่งถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานฟอกเงินตามฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 2 มีว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำเลยที่ 1 หรือไม่...ฯลฯ...พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มั่นคงพอให้รับฟังได้โดยสนิทใจ คดียังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยข้อนี้ให้จำเลยที่ 2 ...ฯลฯ...”
          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

( พินิจ บุญชัด - สมศักดิ์ ตันติภิรมย์ - พันวะสา บัวทอง )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2550

ป.วิ.อ. มาตรา 15, 227 วรรคสอง
ป.วิ.พ. มาตรา 84
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 60

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสอง ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 60 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบในการกระทำความ ผิดดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบเพื่อให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยทั้งสอง เป็นผู้กระทำความผิดจริง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองก่อนถูกจับกุมว่า จำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจนมีรายได้นำไปซื้อทรัพย์สิน ของกลาง ลำพังจากการสอบสวนพบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ และจำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อทรัพย์สินของกลาง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสองรับโอนหรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อ ซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3, 5, 60 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายและนับโทษจำเลยทั้งสองในคดีนี้ต่อจากโทษในคดี อาญาหมายเลขดำที่ 4876/2544 ของศาลชั้นต้น
          จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ และเคยต้องโทษและพ้นโทษมาแล้วตามฟ้องจริง
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (1), 60 จำคุกคนละ 3 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุกคนละ 4 ปี นับโทษต่อจากโทษของจำเลยทั้งสองในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 4876/2544 ของศาลชั้นต้น
          จำเลยทั้งสองฎีกา
        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง ร้อยตำรวจเอกเดชากับพวกจับกุมจำเลยทั้งสองพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีน 45,800 เม็ด เงินจำนวน 21,000 บาท โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง รถยนต์หมายเลขทะเบียน ฐฉ 1161 กรุงเทพมหานคร โทรทัศน์สี 1 เครื่อง เครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง และตู้เย็น 1 ตู้ เป็นของกลาง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานโอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิด แหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 60 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบในการกระทำความ ผิดดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อคดีนี้เป็นคดีอาญาโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ เพื่อให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิดจริง แต่โจทก์มีเพียงร้อยตำรวจเอกเดชาผู้ร่วมจับกุมเบิกความเป็นพยานว่า เหตุที่ยึดทรัพย์สินของกลางเพราะฐานะของจำเลยทั้งสองไม่น่าที่จะมีทรัพย์สิน ของกลางได้ และสันนิษฐานว่าเงินจำนวน 21,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นเพียงความเข้าใจของพยานโจทก์เอง แม้จ่าสิบตำรวจกิติศักดิ์ผู้ร่วมจับกุม และพันตำรวจโทณรงค์พนักงานสอบสวนเบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองรับว่าใช้เงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษซื้อทรัพย์สิน ของกลางก็ตาม แต่ร้อยตำรวจเอกเดชาก็มิได้เบิกความถึงคำรับของจำเลยทั้งสองและไม่มีการ บันทึกคำรับของจำเลยทั้งสองไว้ในบันทึกการตรวจยึดทรัพย์สินเพื่อตรวจสอบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง ส่วนพันตำรวจโทณรงค์ก็เบิกความลอย ๆ โดยโจทก์มิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นพยาน คำเบิกความของจ่าสิบตำรวจกิติศักดิ์และพันตำรวจโทณรงค์จึงไม่มีน้ำหนักรับ ฟัง เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองก่อนถูกจับกุมว่า จำเลยทั้งสองมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจนมีรายได้นำไปซื้อทรัพย์สิน ของกลางและเป็นเหตุให้มีการไปตรวจค้นจับกุมจำเลยทั้งสองในวันเกิดเหตุ ลำพังจากการสอบสวนพบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประกอบอาชีพและจำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อทรัพย์สินของกลาง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ทั้งจำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าจำเลยทั้งสองมีรายได้จากการขายข้าวแกง การเล่นแชร์ การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน รับจำนำรถยนต์และกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยทั้งสองรับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิด แหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น
          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง.

( ชัช ชลวร - วีระศักดิ์ เสรีเศวตรัตน์ - บวร กุลทนันทน์ )

ศาลจังหวัดนนทบุรี - นายสุรพล โตศักดิ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 - นายธนิต รัตนะผล

(ฎีกาเหล่านี้ทีมทนายความ Thai Law Consult นำมาจากระบบสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา 24-4-56)

 

2)    ข่าวการต่อสู้คดีของจำเลยในคดีฟอกเงิน (เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายของประชาชน)

 

ศาลอาญายกฟ้อง “เสี่ยโอฬาร-เอนก สุดิรัตน์” เจ้าของสวนส้ม จ.เชียงราย จากกรณีความผิดฐานฟอกเงิน 
       
        วันนี้ (26 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณา 908 ศาลอาญาถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 3 เป็นโจทก์ฟ้องนายเอนก หรือโอฬาร สุดิรัตน์ อายุ 52 ปี เจ้าของสวนส้ม จ.เชียงราย เป็นจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กรณีเมื่อปี 2547 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ต.ประตูน้ำพระอินทร์ จ.ปทุมธานี จับกุมจำเลยกับพวกในคดีครอบครองยาบ้า 1,300,000 เม็ด เหตุเกิดที่ ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี และเขตประเวศ กทม.ต่อเนื่องกัน จำเลยให้การปฏิเสธ
       
        ศาลพิเคราะห์เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้อง ระบุวัน เวลา กระทำความผิดฐานฟอกเงินของจำเลย เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ต.ค. 2544 -7 ต.ค. 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ที่จำเลยถูกจับกุมคดียาเสพติด เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2547 จึงไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับการค้ายาเสพติดของจำเลยก่อนถูกจับกุม อีกทั้งคดีนี้เป็นคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้แจ้งชัดเพื่อให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้กระทำผิดจริง ลำพังการสืบสวนสอบสวนของตำรวจที่ระบุว่า จำเลยเกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่ สภ.แม่สายหลายคดี และจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายา รับฝากทรัพย์ของบุคคลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด จนมีรายได้และนำไปซื้อทรัพย์ต่างๆ นั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าจำเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
       
        อีกทั้งเมื่อปี พ.ศ. 2529 จำเลยแต่งงานกับนางประมวล สุดิรัตน์ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ จ.เชียงราย ก่อนถูกจับกุมจำเลยมีอาชีพซื้อขายที่ดิน เป็นนายหน้าซื้อขายที่ดิน ซื้อขายรถยนต์ เครื่องจักรกลหนักมือสอง ปล่อยกู้นอกระบบ รับเหมาเกี่ยวกับกับงานดิน เช่น ถมดิน ขุดบ่อ ทำการดูแลที่ดิน ปรับพื้นที่ทำสวนส้ม เนื้อที่ประมาณ 400-500 ไร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2544 จำเลยได้จัดตั้งบริษัท ฟ้าโอฬาร จำกัด เพื่อประมูลงานส่วนราชการและรับเหมาช่วง ซึ่งจำเลยมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพโดยสุจริต พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่พอรับฟังได้ว่า เงินสดที่จำเลยนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์,โอน อสังหาริมทรัพย์, ให้กู้ยืมเงิน, ทำธุรกรรมทางการเงิน, ซื้อรถยนต์, ฝากเงิน, ซื้อพันธบัตร, ซื้อทองรูปพรรณหรือนำธนบัตรเก่าไปฝากและเปลี่ยนสภาพเป็นธนบัตรใหม่ เป็นการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังทรัพย์สินดังกล่าว เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือเป็นทรัพย์สินอื่นที่ได้มาจากการจำหน่าย ถ่ายโอนทรัพย์เกี่ยวกับยาเสพติด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟอกเงิน ให้ยกฟ้อง
       
        อย่างไรก็ตาม ในส่วนของคดีที่นายเอนก หรือเสี่ยโอฬาร ตกเป็นจำเลยคดีครอบครองยาเสพติดนั้น เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2555 ศาลฎีกาได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต

เครดิต : http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000036642