Blog categories

Latest posts

ทนายพงศ์รัตน์ รัตนพงศ์ น.บ.ท.64 ผู้เรียงเรียง

จัดส่งคนงานไปต่างประเทศ

หลัก  

ป.อ. มาตรา 59

               บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อ ได้กระทำโดย เจตนา เว้นแต่ จะได้กระทำโดยประมาทในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดย ประมาท หรือเว้นแต่ ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
               กระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้ กระทำประสงค์ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผล ของการกระทำนั้น
               ถ้าผู้กระทำ มิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ ต่อผล หรือ ย่อมเล็งเห็นผล ของการกระทำนั้น มิได้
               กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความ ระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้ กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
               การกระทำ ให้หมายความรวมถึง การให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำ เพื่อป้องกันผลนั้นด้วย 

ป.อ. มาตรา 56          

               ผู้ใดกระทำความผิด ซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลง โทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่า ผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือ ปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึงถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา อบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และ สิ่งแวดล้อม ของผู้นั้น หรือ สภาพความผิด หรือ เหตุอื่นอันควรปรานี แล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ กำหนดโทษ แต่รอการลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาล จะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาโดยจะกำหนดเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ ได้                                                                                       

ป.อ. มาตรา 78  

               เมื่อปรากฏว่า มีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่ม หรือ การลดโทษ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น แล้วหรือไม่ ถ้าศาล เห็นสมควรจะลดโทษ ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ก็ได้
               เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ ผู้กระทำความผิด เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณ ความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้าย แห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน หรือ ให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาหรือ เหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียว กัน        
              

ป.อ. มาตรา 90        

               เมื่อการกระทำใด อันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อ กฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด

ป.อ. มาตรา 341      

               ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือ บุคคล ที่สาม หรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวง หรือ บุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือ ทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้น กระทำความผิด ฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน สามปี หรือ ปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ป.อ. มาตรา 343      

               ถ้าการกระทำความผิด ตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือ ด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ห้าปี หรือ ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
               ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พัน บาท

               

พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528

              มาตรา 4          ในพระราชบัญญัตินี้

              “จัดหางาน” หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตามและให้หมายรวมถึงการเรียกเงิน หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางานให้คนหางาน

              “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ให้เป็นค่าตอบแทนการจัดหางาน

              “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดหางาน

              “ผู้รับอนุญาต” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานตามพระราชบัญญัตินี้

              “ตัวแทนจัดหางาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้รับอนุญาตจดทะเบียนให้เป็นตัวแทนจัดหางานตามพระราชบัญญัตินี้

              “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานจัดหางานของผู้รับอนุญาติ

              “คนหางาน” หมายความว่า บุคคลซึ่งประสงค์จะทำงานโดยเรียกหรือรับค่าจ้างเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่น

             มาตรา 30         ห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง

             มาตรา 82         ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 49 มาตรา 49ทวิ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือมาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             มาตรา 91ตร    ผู้ ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางาน หรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ข้อเท็จจริง   

  • 2549 พี่ทรง เจ้าของบริษัทจัดหางาน จัดส่งคนงาน 140 คน จากประเทศไทย ไปทำงานให้บริษัทก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 4 ปี ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อครบสัญญา คนงานทุกคนกลับประเทศไทยอย่างปลอดภัย และมีฐานะดีขึ้น รวมทั้ง น้องต้อย
  • 2554 น้องต้อย คนงานที่เคยไปทำงานที่ญี่ปุ่น ทราบจากพี่ทรงว่า ได้งานจัดส่งคนงานไปทำงานที่บาห์เรน 50 คน จึงขอโควต้าจากพี่ทรง ขอจัดหาคนงานเอง 20 คน จะแบ่งค่าหัวให้พี่ทรงอีกคนละ 20,000 พี่ทรงจึงตกลงด้วย

          การจัดส่งคนงาน 50 คนไปทำงานบาห์เรนเรียบร้อยด้วยดี คนงานได้เดินทางไปตามกำหนดและส่งเงินกลับมาบ้านครั้งละมากๆ

          ชาวบ้านตำบลเดียวกันทราบข่าว จึงมาสมัครจะไปทำงานที่บาห์เรนกับน้องต้อย อีก 20 คน โดยแต่ละคนได้จ่ายค่าหัวคิวให้น้องต้อยรับไว้แล้วคนละ 80,000 บาท แต่น้องต้อย ไม่สามารถส่งคนหางานไปบาห์เรนได้ เพราะพี่ทรงไม่มีโควต้าจัดส่งคนหางานไปทำงานที่บาห์เรนอีก

          6 เดือนหลังจากจ่ายเงินให้น้องต้อย คนงานก็ยังไม่ได้เดินทางไปทำงาน จึงรวมตัวกันขอเงินคืน และไปเรียกร้องต่อแรงงานจังหวัด / แรงงานจังหวัดไกล่เกลี่ยให้น้องต้อยคืนเงิน 10 ราย / อีก 8 ราย ไม่เอาความ เพราะเป็นญาติของน้องต้อย / อีก 2 ราย ไกล่เกลี่ยไม่ได้ อัยการจึงฟ้องน้องต้อย เป็น 2 คดี คดีแรกฟ้องที่ศาลจังหวัดเลย คดีที่สองฟ้องที่ศาลจังหวัดสระบุรี

  • 25 ตุลาคม 2555 น้องต้อยเข้ามาปรึกษาคดีกับทนายความ Thai Law Consult โดยถามว่า "ผมจะติดคุกกี่ปี และ ผมจะมีทางออกอย่างไร"

          ทีมทนาย Thai Law Consult ซึ่งนั่งฟังข้อเท็จจริง ประกอบด้วย ทนายเจี๊ยบ สาวิตรี จิตซื่อ, ทนายสมบัติ บุญสุทัศน์ น.บ.ท.63, ทนายน้อย ปราธูป ศรีกลับ, ทนายสุทธิพงษ์ ปราบปราม, ทนายพี่ตุ๊กตา น.บ.ท.64 ได้ตรวจดูสำเนาคำฟ้อง และข้อกฎหมาย ตามฎีกา 472/2542, 609/2529, 6466/2547 และช่วยกันให้คำปรึกษาว่า

  • ต้องฟังข้อเท็จจริงอีกรอบ เพื่อพิจารณาว่า น้องต้อย มีเจตนาทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 59 หรือไม่
  • คดีอื่นๆ ทำนองเดียวกัน ผลทางร้าย คือ ผิด ป.อ. มาตรา 343 ฉ้อโกงประชาชน และผิดเป็นกรรมเดียวกับ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน มาตรา 91ตรี ฐานหลอกลวงคนหางาน ระวางโทษจำคุก 3 - 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ หกหมื่นบาท ถึง สองแสนบาท
  • ทางออกของคดี คือ

           -  รับสารภาพ เพื่อรับโทษแค่ครึ่งเดียว (น่าจะ 1 ปี 6 เดือน) ตาม ป.อ. มาตรา 78
           -  คืนเงินแก่ผู้เสียหาย พร้อมดอกเบี้ย เพี่อบรรเทาผลร้าย แล้วขอให้ศาลเมตตารอการลงโทษอาญา ไม่ต้องติดคุกจริง ตาม ป.อ. 56

  • น้องต้อยจึงตัดสินใจว่า จะหาเงินชำระแก่ผู้เสียหายทั้ง 2 คน ก่อนศาลมีคำพิพากษา .....  
ทีมงาน Thai Law Consult ได้นำฎีกาเกี่ยวกับคดีจัดส่งคนงาน ไปทำงานต่างประเทศ มาลงไว้ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจได้ศึกษาเพิ่มเติมครับ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  474/2542

ป.อ. มาตรา 90, 343
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน มาตรา 30, 82, 91 ตรี

          จำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต จัดหางานให้คนหางาน ไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อีกทั้งจำเลยกับพวกไม่สามารถที่จะส่งผู้ใดไปทำงานในต่างประเทศ ดังกล่าวได้ และทั้งไม่มีงานรออยู่ที่ประเทศดังกล่าวตามที่แจ้งแก่ ผู้เสียหายทั้งเจ็ด อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายคงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับ เงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหา งานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนและผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานให้แก่คนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหาย ทั้งเจ็ดและส่งคนหางานทั่วไปและผู้เสียหายทั้งเจ็ดไปทำงานที่ ไต้หวัน และเกาหลีได้โดยผู้ที่จะไปทำงานที่เกาหลีต้องเสียเงินค่าบริการจัดการให้แก่ จำเลยกับพวกคนละ 80,000 บาท และผู้เสียหายทั้งเจ็ดได้มอบเงินคนละ 80,000 บาท ให้แก่จำเลยกับพวกไปก็เพราะผู้เสียหายทั้งเจ็ดเชื่อตาม ที่จำเลยกับพวกหลอกลวงนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 91 ตรี และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91, 341, 343 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 283,000 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 นับโทษของจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1243/2540 ของศาลชั้นต้น
          จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน (ที่ถูกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน) พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 3 ปี ฐานฉ้อโกงประชาชน ให้จำคุก 3 ปีรวมจำคุก 6 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 283,000 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1243/2540 ของศาลชั้นต้นด้วยนั้น เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติว่าจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานจาก นายทะเบียนจัดหางานกลางตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่กล่าวในฟ้อง จำเลยกับพวกโดยทุจริตได้หลอกลวงประชาชนและนายโยธิน แสงเย็น นายบำรุง เหล่าพลายนาค นายสัญญา นุ้ยปลี นางสาวบุญเจิด นุ้ยปลีนางสาวทองรวม อัดตะพันธ์ นางสาวสมนึก แสงเย็นและนางสาวประทวน แห้วเพ็ชร ผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าจำเลยกับพวกสามารถหางานให้แก่คนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้ เสียหายทั้งเจ็ดและสามารถส่งคนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหายทั้งเจ็ดไปทำงาน ที่ดินแดน ไต้หวัน และประเทศเกาหลี ได้โดยผู้ที่จะไปทำงานที่ประเทศเกาหลีจะต้องเสียเงินค่าบริการจัดการให้แก่ จำเลยกับพวกคนละ 80,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถที่จะส่งผู้ใดไปทำงานในต่างประเทศได้ ทั้งไม่มีงานรออยู่จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดหลงเชื่อ ว่าเป็นความจริง ได้มอบเงินคนละ 80,000 บาท ให้แก่จำเลยกับพวกรับไป
          มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า การกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหรือไม่ สำหรับความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับ อนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 นั้น เห็นว่า คำฟ้องตอนแรกบรรยายว่าจำเลยกับพวกจัดหางานโดยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คน หางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคนหางานที่ประสงค์จะไปทำงาน ที่ดินแดน ไต้หวัน และประเทศเกาหลี โดยเรียกและรับเงินค่าบริการเป็นการตอบแทนการจัดหางานจากคนหางานและผู้เสีย หายทั้งเจ็ด โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่า จำเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยแจ้งว่าจำเลยกับพวกได้รับใบ อนุญาตจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศและสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานใน โรงงานในดินแดนไต้หวันและประเทศเกาหลีได้โดยมีงานรออยู่ที่ดินแดนและประเทศ ดังกล่าวแล้ว และผู้ไปทำจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างสูง ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่าง ประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกทั้งจำเลยกับพวกไม่สามารถที่จะส่งผู้ใด ไปทำงานในต่างประเทศดังกล่าวได้ และทั้งไม่มีงานรออยู่ที่ดินแดน และประเทศดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสีย หายทั้งเจ็ด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดเท่านั้นการ กระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครอง คนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82ส่วนความผิดตามมาตรา 91 ตรี นั้น เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี บัญญัติว่า"ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางาน หรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ" จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าวข้างต้นการที่จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชน และผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าจำเลยกับพวกสามารถหางานให้แก่คนหางานทั่วไปรวมทั้ง ผู้เสียหายทั้งเจ็ดและส่งคนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหายทั้งเจ็ดไปทำงาน ที่ดินแดน ไต้หวัน และประเทศเกาหลี ได้ โดยผู้ที่จะไปทำงานที่ประเทศเกาหลีจะต้องเสียเงินค่าบริการจัดการให้แก่ จำเลยกับพวกคนละ 80,000 บาท และที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดได้มอบเงินคนละ 80,000 บาท ให้แก่จำเลยกับพวกไปก็เพราะผู้เสียหายทั้งเจ็ดเชื่อตามที่จำเลยกับพวกหลอก ลวงนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางา นพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรกที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกันนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น"
          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือนความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับ อนุญาตให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

( ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน - วิรัตน์ ลัทธิวงศกร - วินัส เรืองอำพัน )

 

หมายเหตุ 
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2542 ที่เขียนหมายเหตุนี้วินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดหางาน ซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้
          1. การจัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึงการเรียกเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางาน ให้คนหางาน(พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4)
           การจัดหางานตามบทวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าว สรุปให้เข้าใจง่าย ๆคือ การจัดให้มีงานทำ โดยจัดหาลูกจ้างให้นายจ้าง หรือจัดหานายจ้างให้ลูกจ้าง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเรียกหรือรับค่าตอบแทนหรือไม่ซึ่งปกติมักเรียกค่าตอบแทน
          2. ประเภทของการจัดหางาน มี 2 ประเภท คือ การจัดหางานในประเทศกับการจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
          2.1 การจัดหางานในประเทศ
           ผู้ที่จะจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานตามมาตรา 8
           ผู้ขออนุญาตจัดหางานอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ โดยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 9
          2.2 การจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
           ผู้ที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางตามมาตรา 30
           ผู้ขออนุญาตจัดหางานดังกล่าวต้องเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 31
          3. ความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางาน
          3.1 ผู้ที่จัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จัดหางานตามมาตรา 8 มีความผิดตามมาตรา 73 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          3.2 ผู้ที่จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานกลางตามมาตรา 30มีความผิดตามมาตรา 82 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           ความผิดฐานจัดหางานให้ทำในประเทศหรือให้ทำในต่างประเทศตามข้อ 3.1 และ 3.2 นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
          (1) ผู้จัดหางานได้จัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในประเทศหรือต่างประเทศโดยเจตนา
          (2) โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางาน
           ตัวอย่างที่ 1
           นายดำตั้งสำนักงานประกอบธุรกิจจัดหางาน จัดหาลูกจ้างไปทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ หรือจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ และเรียกค่าตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางาน
           กรณีนี้ นายดำมีเจตนาจัดหางานและได้จัดหางานแล้ว แต่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดหางานจากนายทะเบียนจัดหางาน จึงมีความผิดตามมาตรา 8 ประกอบมาตรา 73
           ตัวอย่างที่ 2
           บริษัท ก. มีวัตถุประสงค์ในการจัดหางาน จัดตั้งสำนักงานจัดหางานได้จัดส่งคนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศ โดยเรียกเก็บค่าตอบแทนแต่ไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง มีความผิดตามมาตรา 30 ประกอบมาตรา 82
           ตัวอย่างที่ 3นายแดงตั้งสำนักงานจัดหางาน อ้างว่าจะจัดส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศโดยที่ไม่มีเจตนาจะส่งคนไปทำงานต่าง ประเทศ เพียงแต่อ้างมาเพื่อหลอกลวงคนหางานเพื่อเรียกเอาเงินหรือทรัพย์สินจากคนหา งาน
           กรณีนี้ นายแดงไม่ได้มีเจตนาจะจัดหางาน เพียงอ้างการจัดหางานเป็นเครื่องมือเพื่อหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินจากคน หางาน จึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จากนายทะเบียนจัดหางานกลางตามมาตรา 30 ประกอบมาตรา 82
           ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2542 ที่เขียนหมายเหตุศาลฎีกาพิเคราะห์ว่า จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จึงไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และไม่มีงานรออยู่ที่ต่างประเทศที่จะส่งคนหางานไปทำได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายจึงไม่ มีความผิดตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 82
          4. ความผิดฐานฉ้อโกง
           การที่จำเลยไม่มีเจตนาจัดหางาน แต่อ้างการจัดหางานมาหลอกลวงคนหางานเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิด ข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง จนเป็นเหตุให้คนหางานหลงเชื่อ ยอมจ่ายค่าตอบแทนแก่จำเลย จึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หากจำเลยได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนทั่วไปจะมีความผิดฐานฉ้อโกง ประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
           คดีนี้จำเลยได้หลอกลวงประชาชนและผู้เสียหายทั้งเจ็ดจนได้เงินจากผู้เสียหาย คนละ 80,000 บาท จึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
          5. ความผิดฐานหลอกลวงผู้หางาน
           ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ เป็นเหตุให้ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง มีความผิดตามมาตรา 91 ตรี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 บาทถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           คดีนี้ จำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศเพราะไม่มีงานรออยู่ที่ต่าง ประเทศ แต่หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าสามารถจัดส่งให้ไปทำงานที่ประเทศไต้หวันและ เกาหลีได้โดยมีงานรออยู่แล้ว ทำให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดหลงเชื่อ และมอบเงินให้แก่จำเลยคนละ 80,000 บาท จึงมีความผิดตามมาตรา 91 ตรี ด้วย
          6. ฟ้องศาลใด
           ปัจจุบันศาลแรงงานไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา คดีฐานจัดหางานเพื่อทำงานในประเทศตามมาตรา 8,73 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับต้องฟ้องต่อศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ
           ความผิดฐานจัดหางานเพื่อให้ทำงานในต่างประเทศตามมาตรา 30,82 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ หรือศาลอาญาธนบุรี
           ความผิดฐานหลอกลวงผู้หางานตามมาตรา 91 ตรีซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000 บาทถึง 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต้องฟ้องที่ศาลจังหวัดศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ หรือศาลอาญาธนบุรี
           ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341ฟ้องที่ศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ต้องฟ้องที่ศาลจังหวัดศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ หรือศาลอาญาธนบุรี
           ส่วนศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีแพ่งที่เป็นคดีแรงงาน เช่น ผู้จัดหางานผิดสัญญาจัดส่งไปทำงานที่ต่างประเทศไม่ตรงตามสัญญา ทำงานไม่ครบตามสัญญา หรือไม่ส่งไปทำงานตามสัญญา แล้วคนหางานมาฟ้องเรียกค่าใช้จ่าย ค่าบริการคืนหรือเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
           สำหรับกรณีที่จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง หรือฉ้อโกงประชาชนโดยอ้างการจัดหางานมาหลอกลวงคนหางานจนได้ไปซึ่งเงินหรือ ทรัพย์สินของคนหางานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,343หรือหลอกลวงว่าจะหางานหรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศจนได้เงินหรือ ทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน มาตรา 91 ตรี หากผู้เสียหายจะมาฟ้องเรียกเงินหรือทรัพย์สินคืนต้องฟ้องที่ศาลแขวงหรือศาล จังหวัดศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หรือศาลแพ่งธนบุรี แล้วแต่กรณีจะฟ้องที่ศาลแรงงานไม่ได้ เนื่องจากมิใช่มีมูลมาจากคดีแรงงาน
           รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  609/2529

ป.อ. มาตรา 341, 343

         การกระทำใดเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ประชาชนหรือไม่มิได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงแต่ถือเอาเจตนาแสดง ข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนเป็นข้อ สำคัญ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

________________________________

          โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กับพวก โดย ทุจริต ร่วมกัน หลอกลวง ประชาชนโดย การ แสดง ข้อความเท็จ ว่า สามารถ จัด ส่ง ผู้ ที่ มา สมัครงานกับ จำเลย และ พวก ให้ เดินทาง ไป ทำงาน ใน ต่าง ประเทศ ได้ ความจริงจำเลย กับพวก ไม่ สามารถ ดำเนินการ ตาม ที่ โฆษณา ไว้ เป็น เหตุ ให้นาย สมจิตร กับ พวก มา สมัคร ไป ทำงาน และ เสีย เงิน ค่าสมัคร ให้ จำเลยคนละ 30,000 บาท ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343,83 กับ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน 180,000 บาท แก่ ผู้เสียหาย ทั้งหก คน
          จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา343, 83 จำคุก 1 ปี 6 เดือน ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา78 หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 1 ปี ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ เงิน ให้ผู้เสียหาย 157,200 บาท
          จำเลย อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
          โจทก์ ฎีกา ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ฐาน ฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
          ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า การ กระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 หรือ ไม่ นั้น ศาลฎีกา ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริงตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนตาม บท บัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่งศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ร่วม กับ พวก หลอกลวง ผู้เสียหายใน คดี นี้ เป็น ราย บุคคล ศาลฎีกา เห็น ว่า การ กระทำ อัน จะ เป็นความผิด ฐาน ฉ้อโกง ประชาชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 นั้น มิได้ถือ เอา จำนวน ผู้เสียหาย ที่ ถูก หลอกลวง มาก หรือ น้อย เป็น เกณฑ์แต่ ถือ เอา เจตนา แสดง ข้อความ อัน เป็น เท็จ หรือ ปกปิด ความจริงซึ่ง ควร บอก ให้ แจ้ง แก่ ประชาชน เป็น ข้อ สำคัญ ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ฉ้อโกง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา341 นั้น ต้อง ด้วย ความ เห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น
          พิพากษายืน

( อำนวย อินทุภูติ - ดำริ ศุภพิโรจน์ - สมศักดิ์ เกิดลาภผล )

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6466/2547

ป.อ. มาตรา 91, 341
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง, 31 วรรคหนึ่ง, 82, 91ตรี

          การจะเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหารงานก่อน จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงาน ในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัด หางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่าง จริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอา เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82

          ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

________________________________

           โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้ม ครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4, 30, 82, 91 ตรี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 18,000 บาท นับโทษของจำเลยต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดงที่ 2145/2544 ของศาลชั้นต้น
          จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4, 30 (ที่ถูก 30 วรรคหนึ่ง), 82, 91 ตรี ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 การกระทำเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 3 กระทง ฐานประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับ อนุญาต จำคุก 3 ปี กระทงหนึ่ง ฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 รวม 2 กระทง ให้จำคุกกระทงละ 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 18 เดือน ก้บให้จำเลยคืนเงินหรือชดใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสองคนละ 18,000 บาท และให้นับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 2230/2544 คดีหมายเลขแดงที่ 2145/2544 ของศาลชั้นต้น

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คงมีประเด็นต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย ในปัญหาข้อกฎหมาย 3 ข้อ คือ ข้อที่ 1 จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยมิ ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82 หรือไม่ ข้อที่ 2 การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องข้อ 1 ข. และ 1 ค. เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมและข้อที่ 3 การนับโทษจำเลยต่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ชอบหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

          ปัญหาข้อที่ 1 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวันถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกัน จำเลยได้บังอาจประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานทั่วไปรวมทั้งนายวันชนะและนาง จิดาภาคนหางานที่ประสงค์จะทำงานกับนายจ้างในประเทศออสเตรเลีย โดยจำเลยเรียกและรับเงินค่าบริการจากคนหางานเป็นการตอบแทน ทั้งนี้โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียนจัดหางานกลางตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4, 30 และ 82 โดยมาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางและมาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัท มหาชน จำกัด ประกอบกับมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “จัดหางาน” หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึงการเรียกเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางาน ให้คนหางาน ฉะนั้น การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจ จัดหางานก่อน คดีนี้จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางาน เพื่อไปทำงานในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางาน ของบริษัทจัดหางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า “จัดหางาน” แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่าง จริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอา เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง อันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหา งาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82 ตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น

          ปัญหาข้อที่ 2 การกระทำของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และ ข้อ 1 ค. เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรม เห็นว่า ในความผิดดังกล่าวนี้โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยต่างวันกัน กล่าวคือ ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกัน และฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ส่วนในปัญหาข้อที่ 3 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนว่าเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาไม่มาศาลในการพิจารณา คดีจนศาลต้องออกหมายจับและจำหน่ายคดีชั่วคราว ต่อมาเมื่อได้ตัวจำเลยมาพิจารณาคดีต่อ ความจึงปรากฏแก่โจทก์ว่า ระหว่างนั้นจำเลยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลอาญาตามคดีหมายเลขแดงที่ 2145/2544 โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ โดยขอให้นับโทษในคดีนี้ต่อจากคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยได้แถลงรับไว้ในรายการกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อจริง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีนี้ ให้ลงโทษจำคุกจำเลย การมีคำสั่งนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีที่โจทก์ขอดังกล่าว จึงชอบแล้ว หาต้องคำนึงถึงวันกระทำผิดและวันพิพากษาว่าเกิดก่อนหลังดังที่จำเลยฎีกาแต่ อย่างใดไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง, ประกอบมาตรา 82 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

( บุญรอด ตันประเสริฐ - พีรพล จันทร์สว่าง - สมชัย จึงประเสริฐ )

 

(ฎีกาเหล่านี้ทีมทนายความ Thai Law Consult นำมาจากระบบสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา 7-11-55)