Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
หลัก
ป.พ.พ. มาตรา 144
ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์ หรือ โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญ ในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และ ไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือ ทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
ป.พ.พ. มาตรา 145
ไม้ยืนต้น เป็นส่วนควบกับที่ดิน ที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
ไม้ล้มลุก หรือ ธัญชาติ อันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวต่อปี ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
ป.พ.พ. มาตรา 146
ทรัพย์ ซึ่งติดกับที่ดิน หรือ ติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบ กับ ที่ดิน หรือ โรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่ โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น ใช้สิทธินั้น ปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 1316
ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็น ส่วนควบ หรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วนตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น
ถ้าทรัพย์อันหนึ่งอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานไซร้ ท่านว่าเจ้าของทรัพย์นั้น เป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้นๆ
ป.พ.พ. มาตรา 1299
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือ และ ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดย สุจริตแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 1300
ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพยสิทธิ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะ ให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้น อาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้
ข้อเท็จจริง
" โดยสภาพสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน เป็นส่วนควบของที่ดินนั้น เมื่อมีการขายที่ดินโดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย ถือได้ว่า ผู้ซื้อที่ดินได้กรรมสิทธิสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย ตามหลักเรื่องส่วนควบ (ฎีกาที่ 802/2544, 1457/2548)
ถ้าตกลงกันชัดเจนว่า ตกลงซื้อขายกันเฉพาะที่ดิน แล้วไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย แต่ถ้าต่อมาผู้ซื้อตกลงซื้อสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินอีก ผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิตามหลักส่วนควบ โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก (ฎีกาที่ 2389/2532) "
ข้อเท็จจริงทำนองเดียวกัน ถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินแล้ว ระหว่างที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอน ก็ยังถือไม่ได้ว่า สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ตามหลักเรื่องส่วนควบ แม้จะส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้ผู้จะซื้อแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เพราะเจตนาในการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย อยู่ที่การโอนทะเบียนเป็นสำคัญ ดูฎีกาที่ 5557/2545
ทนายพี่ตุ๊กตา น.บ.ท.64 แจ้งเฮียกวงว่า มีข้อยกเว้น หลักส่วนควบ คือ ป.พ.พ. มาตรา 146 ดังนี้
1. ทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน หรือโรงเรือนชั่วคราว ไม่เป็นส่วนควบ
2. ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น ใช้สิทธินั้นปลูกลงในที่ดินนั้น ไม่เป็นส่วนควบ
ฎีกาที่วินิจฉัยว่าไม่เป็นส่วนควบ คือ 5692/2546 และ 2577/2551
(ทีมงาน ThaiLaw Consult ได้นำฎีกาฉบับเต็ม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนควบมาลงไว้ เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้ศึกษากฎหมายภาคปฏิบัติครับ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2549
ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 659 วรรคสาม
________________________________
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2541
ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 563, 671
________________________________
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2542
ป.พ.พ. มาตรา 420, 537, 657
ป.วิ.พ. มาตรา 224
________________________________
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525
ป.พ.พ. มาตรา 164, 226, 227, 561, 567, 657, 665, 671, 880
ป.วิ.พ. มาตรา 248