Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
บทความจาก คุณวีรยุทธ พนังศรี (บอย) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1
|
|
กว่าจะเป็นเนติบัณฑิต ( นายวีรยุทธ พนังศรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง )
ครั้นเมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาเนติบัณฑิต ในวันที่เข้ารับพระราชทานฯ ได้พบกับคุณพงศ์รัตน์ รัตนพงศ์ (น้าสิด) ได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกแก่กัน และต่อมาก็ได้รับการเชิญชวนให้ข้าพเจ้าเขียนบทความเมื่อครั้งศึกษาในระดับ เนติบัณฑิต บอกเล่าเรื่องราวในแง่มุมของในการศึกษาและกว่าจะเป็นเนติบัณฑิต ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งกับคำเชิญในทัศนะนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความที่จะกล่าวนี้ จะเป็นแรงผลักดัน และกำลังใจให้ผู้ที่จะศึกษาในระดับเนติบัณฑิตได้ตระหนักกันว่าทุกความสำเร็จ อาจไม่ได้มาเพียงแค่การครุ่นคิด แต่ได้มาจากการลงมือทำ
ก่อนจะเข้าเรื่องขอท้าวความถึงช่วงวัยการ ศึกษาในระดับปริญญาตรี ข้าพเจ้าเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะนิติศาสตร์ ปี 2547 จบการศึกษาในปี 2550 รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นสองปีครึ่งซึ่งข้าพเจ้าก็คิดว่ามันนานมากทั้งที่ เพื่อนๆของข้าพเจ้าก็จบพร้อมๆกันบ้างและช้ากว่าบ้าง ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าทำไมข้าพเจ้าถึงคิดเช่นนั้น ทั้งที่คนทั่วไปคิดว่าเร็วด้วยซ้ำไป เพื่อนข้าพเจ้าก็คิดเช่นนั้น แต่ที่ข้าพเจ้าคิดว่าช้านั้นอาจเป็นเพราะว่าข้าพเจ้าได้ใช้ชีวิตอย่างนัก ศึกษาทั่วไปน้อยหรือแทบไม่ได้ใช้เลย ซึ่งอาจจะมีอยู่บ้างก็แค่กิจกรรมรับน้อง ด้วยเพราะข้าพเจ้าต้องทำงานประจำ งานชั่วคราว งานพิเศษ ต่างๆ มากมายในทุกๆวัน ตั้งแต่ก่อนเข้าศึกษาในรามคำแหงจนกระทั่งจบการศึกษา มีเวลาอ่านหนังสือเพียงแค่วันละ 3-4 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาประมาณ 20.00 น.-24.00 น. ของทุกๆวัน วนเวียนอย่างนี้เรื่อยมา จนวันที่ข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษารุ่นพี่คนหนึ่งเข้ามาแสดงความยินดี พร้อมกับเอ่ยคำว่า “ แขบ(รีบ)จบจังเพิ่งเรียนเอง ไม่ถ้า(รอ)รุ่นพี่ๆมั้ง “ ข้าพเจ้าได้ฟังก็ยังดีใจแบบงงๆอยู่ แต่เมื่อนึกถึงงานรับน้องจึงนึกขึ้นได้ว่ารุ่นพี่คนนี้เองที่ได้บอกวิธีการ แนะแนวการเรียนให้กับน้องๆ ในซุ้มว่ารุ่นพี่คนนี้มีวิธีการเรียนอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น รุ่นพี่แนะนำให้รุ่นน้องลงทะเบียน 6 เล่มทั้งที่ลงได้เต็มที่ 8 เล่ม ทั้งยังแนะนำต่อว่าให้อ่านหนังสือและไปสอบเพียง 4 เล่มข้าพเจ้าจึงเอ่ยถามว่าทำไมจึงสอบแค่ 4 เล่มทั้งที่ลงไว้ 6 เล่ม รุ่นพี่ตอบว่าอีก 2 เล่มเอาไว้สอบซ่อม ข้าพเจ้าจึงถามว่าทำไมไม่ลงให้เต็มและสอบให้หมด จึงได้รับคำตอบว่าหากลงเต็มอ่านไม่ทันบ้าง เนื้อหาเยอะบ้าง และอาจสอบไม่ผ่าน ข้าพเจ้าจึงถามอีกว่าแล้วสอบแค่ 4 เล่มมั่นใจหรือว่าจะสอบผ่านหมด แล้วหากสอบตกก็จะต้องไปรอซ่อมรวมกับวิชาอื่นอีกเยอะ รุ่นพี่ก็ตอบอีกว่าหากซ่อมเยอะก็ลงทะเบียนใหม่เลย ข้าพเจ้าจึงได้คำตอบแก่ตนเองว่า แนวทางการเรียนที่ข้าเจ้าวางแผนไว้นั้น และไม่ทำตามแบบที่รุ่นพี่แนะนำนั้นน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว และก็ได้เฉลยแก่รุ่นพี่คนนี้และน้องที่ถามว่าทำไมถึงจบเร็ว ข้าพเจ้าจึงตอบไปในทัศนะของตนเองว่า “ ผมคนลำบาก ใช้เวลานานไม่ได้ ไม่มีคนส่งให้เรียน ไม่มีคนให้ค่าเทอม ค่ากิน ต้องแขบ(รีบ)เรียนให้จบ “ และได้บอกแก่น้องๆ ไปอีกว่า “ รามไม่กลัวคนเก่ง แต่กลัวคนขยัน วางแผน และมุ่นมั่นลงมือทำ เพราะคนพวกนี้จะไม่ใช้เวลาสิ้นเปลือง และที่ผมจบเร็วไม่ใช่เพราะผมเก่ง แต่เพราะผมลงทะเบียนเต็มสอบหมดทุกวิชา ไม่เผื่อไว้สอบซ่อม เทอมสุดท้ายผมลง 11 เล่มสอบผ่านหมด คนที่เรียนก็ต้องจบ แต่คนที่ไม่จบเพราะอาจไม่ได้มาเพื่อเรียน “ ผมเชื่อว่าน้องๆทุกคนก็ทำได้ขอให้ตั้งใจ และลงมือทำอย่างจริงจัง “ และนี่คือคำพูดบางประโยคและบางส่วนของการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง ของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าสมัครเข้าเรียนที่สำนักฝึกอบรม กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อปี 2550 สมัยที่ 60 ภาคเรียนที่ 2 และจบการศึกษาในปี 2555 (สมัยที่ 64) ซึ่งในช่วงของการศึกษานั้นข้าพเจ้ามิได้เคยเข้าเรียนในสถาบันหรือที่ๆมี อาจารย์สอนเลยแม้แต่น้อย ด้วยเหตุผลเดิมเดียวกับครั้งเมื่อเรียนปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือต้องทำงานประจำทุกๆวัน และงานอื่น ๆ หลายอย่างด้วยกัน จึงไม่มีโอกาสเข้าเรียนอย่างคนอื่น หลายครั้งที่ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกว่าตนเองเหนื่อยกับการลงมือทำสิ่งนี้ ประกอบกับร่างกายที่อ่อนล้ามาหลายปี และปัจจัยอื่น จึงทำให้ข้าพเจ้าเริ่มละการอ่านหนังสือไประยะหนึ่งจนเวลาผ่านไป 2 ปีเศษ จนรู้สึกว่ามันยิ่งนานขึ้นและคงไม่สำเร็จแน่นอนหากไม่ลงมือทำ แต่คนในครอบครัวของข้าพเจ้าก็ไม่เคยติติงเรื่องนี้มีแต่ให้กำลังใจตลอด ข้าพเจ้าจึงคิดว่าหากทิ้งปล่อยให้นานไปกว่านี้ข้าพเจ้าคงต้องทิ้งมันไปแน่ ๆ จึงตัดสินใจที่จะทุ่มเทอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการปรึกษาเพื่อนๆ วางแผนการศึกษา การอ่านหนังสือ จัดเวลาให้สอดคล้องกับเรื่องงานประจำ และที่สำคัญร่างกายต้องรับได้ด้วย แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกครั้งจะเป็นอย่างที่ตั้งเป้าไว้ ก็มีบางครั้งผิดแผนไปบ้าง แต่ก็ลงมือทำเต็มที่ อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อย่างน้อยที่สุดเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ไม่เลือนหายไป จนในที่สุดก็เป็นเนติบัณฑิตจนได้ (สมัย 64 )
ข้าพเจ้าจึงขอบอกเล่าถึงวิธีการ ในเรื่องการวางแผนการศึกษา การอ่านหนังสือ และตลอดถึงการแบ่งเวลาระหว่างการใช้ชีวิตส่วนตัวกับการศึกษา กล่าวโดยสังเขป คือ เนื่องจากข้าพเจ้าต้องทำงานประจำจึงมีเวลาน้อย ดังนั้นก่อนที่ข้าพเจ้าจะเริ่มอ่านหนังสือ จะเริ่มศึกษาถึงโครงสร้างการเรียนการสอน ความสำคัญของกฎหมายแต่ละเรื่อง เรื่องที่ออกข้อสอบบ่อย ๆ เรื่องที่สำคัญๆ ของแต่ละบทกฎหมาย จะพยายามจำแนกแยกย่อยออกมา เพื่อจะได้เข้าใจโครงสร้างทั้งหมด และเมื่อได้ดังนั้นจึงพยายามดึงส่วนสำคัญแต่ละเรื่องมาให้ได้เพื่อการใช้ เวลาศึกษาที่สั้นลง และจำได้แม่นยำขึ้น
และใช้เวลาในการอ่านหนังสือตามลำดับแผนที่วางไว้ ดังนี้
ทุกวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.30 - 19.00 เป็นเวลาของการทำงานประจำ และหรืองานอื่นๆ
เวลา 20.00 - 22.00 พักผ่อนร่างกาย (นอนหลับ )
เวลา 22.00 - 02.00 ตื่นจากนอน ดื่มกาแฟ 1 แก้ว แล้วอ่านหนังสือ
เวลา 02.00 - 07.00 พักผ่อนร่างกาย (นอนหลับ )และตื่นเพื่อไปทำงานเช้าวันใหม่
วันอาทิตย์ ก็สลับกันระหว่างการอ่านหนังสือและการใช้ชีวิตส่วนตัวบ้าง (ชีวิตครอบครัว)
ซึ่งก็แน่นอนว่าชีวิตทุกวันของข้าพเจ้าก็ ไม่ได้มีแค่เพียงที่กล่าวมาและมิใช่ว่าทุกวันจะเป็นอย่างนั้นทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่แล้วข้าพเจ้าก็จะพยายามทำตามแผนที่วางไว้ให้ได้มากที่สุด จนสุดท้ายข้าพเจ้าก็ข้ามผ่านห้วงเวลานั้นมาได้จนถึงความสำเร็จที่ข้าพเจ้า เฝ้ารอ คือการเป็นเนติบัณฑิตในที่สุด และที่ขาดไม่ได้กับความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ ครอบครัว เพื่อนๆที่ช่วยกันหาข้อมูลต่าง เพื่อให้ข้าพเจ้าได้ศึกษา ท้ายที่สุดคือภรรยาของข้าพเจ้าที่เข้าใจและยอมสละเวลาที่จะไม่ใช้ชีวิตส่วน ตัวบางเรื่องเพื่อให้ข้าพเจ้าได้มีเวลากระทำในสิ่งนี้จนสำเร็จมาทุกวันนี้
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอเป็นกำลังใจ ให้ทุกคนที่กำลังจะศึกษาในระดับเนติบัณฑิตนั้นจงภูมิใจที่จะก้าวเดินในทาง นี้ ไม่ว่าจะประสบปัญญาใด จงตั้งสติและระลึกให้ได้ว่าไม่มีอะไรที่ได้มาโดยง่ายดาย ทุกความสำเร็จล้วนแต่ต้องผ่านปัญหาอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นจงลงมือทำอย่างเต็มที่ จงแก้ปัญหาให้คลี่คลายโดยเร็ว และรอคอยความสำเร็จ ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมื่อใดที่ก้าวพ้นความล้มเหลว (ล้มเลิก) ได้ เมื่อนั้นก็จะพบเจอกับความสำเร็จที่หมายไว้
คติประจำใจ
“ ชีวิต คือการเดินทางอันมีเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางไว้ให้มั่น ว่าจะเดินไปทางใด หากแต่เมื่อไหร่ที่ทิศทางนั้นเลื่อนลอยไม่แน่นอน ก็อาจทำให้เป้าหมายที่วางไว้ก็เลื่อนลอยห่างออกไปเช่นกัน ฉะนั้น นักเดินป่าต้องอาศัยเข็มทิศนำทางฉันใด ชีวิตก็ละทิ้งเป้าหมายไม่ได้ฉันนั้น “