Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
คำพิพากษาฎีกาย่อสั้น
ผู้เป็นเจ้าของต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน, อายุความละเมิด 212/2544 โจทก์ฟ้องบังคับเพื่อให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการระงับความเสียหายอันจะ บังเกิดแก่โจทก์ต่อไป ไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1342 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จนเป็นเหตุให้มีน้ำโสโครกซึมเข้าไปในที่ดินและบ้านของ โจทก์และมีกลิ่นเหม็นไม่อาจพักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านได้ตามปกติสุข อัน เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาด จึงเป็นการ ละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้โอน อาคารชุดที่เกิดเหตุไปให้จำเลยที่ 2 แล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 434 มายกเว้นความผิดของตนได้ เพราะคดีนี้ความเสียหายมิได้เกิดขึ้น เพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องหรือบำรุง รักษาไม่เพียงพอคำพิพากษาฎีกาย่อยาว 212/2544 โจทก์ นายสมนึก ยงรัตนา กับพวก จำเลย บริษัท ช.โชคศิริ จำกัด กับพวก แพ่ง ผู้เป็นเจ้าของต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน อายุความละเมิด (มาตรา 434, 448) โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 21291 และ 21300 ตำบลสำโรงเหนือ (สำโรงฝั่งเหนือ) อำเภอเมืองสมุทรปราการ (พระโขนง) จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 และอาคารชุดของจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 2 เป็นภริยาของโจทก์ที่ 1 และเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 637 หมู่ที่ 9 ตำบล สำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของ โจทก์ที่ 1 และอยู่ติดแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 และอาคารพักอาศัยของจำเลยที่ 2 เมื่อปี 2532 จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารสูง 6 ชั้น บนที่ดินของจำเลยที่ 1 โดย วางแนวท่อน้ำทิ้ง บ่อเกรอะบ่อซึม บ่อพักน้ำทิ้งไว้ห่างจากแนวรั้วซึ่งแบ่งเขตที่ดิน ของโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน2 เมตร ตามที่มาตรา 1342 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้สร้างสิ่งป้องกันสิ่งของตกจากอาคารให้ดี เป็นเหตุให้ มีสิ่งของตกจากอาคารพักอาศัยซึ่งจำเลยที่ 1 ก่อสร้าง ทำให้อาคารของโจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย หลังจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารดังกล่าวเสร็จได้ขอจดทะเบียน อาคารดังกล่าวเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 2 เพื่อให้ดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง และการที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายทำให้น้ำโสโครกจากบ่อเกราะ บ่อซึม บ่อพักน้ำทิ้งไหลซึมเข้ามาในที่ดินของโจทก์ที่ 1 จนท่วมพื้นที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นแนวยาวและส่งกลิ่นเหม็นทั่วบริเวณบ้านของโจทก์ทั้งสอง เป็นอันตรายต่อ สุขภาพของโจทก์ทั้งสองและบริวาร และเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2538 มีสิ่งของ จากอาคารของจำเลยทั้งสองหล่นมาทำให้หลังคาอาคารของโจทก์ที่ 2 แตกเสียหาย เมื่อฝนตกทำให้น้ำรั่วมาในบ้านของโจทก์ที่ 2 ทำให้เกิดความเสียหายต้องเสียเงิน ซ่อมแซมจำนวน 20,000 บาท และไม่อาจใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ คิดเป็นค่าเสียหาย วันละ 200 บาท โจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองแก้ไขแล้ว แต่จำเลยทั้งสอง เพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรื้อถอนท่อระบายน้ำ บ่อเกรอะ บ่อซึม บ่อพักน้ำโสโครก ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองออกไปให้ห่างจากแนวเขต ที่ดินโฉนดเลขที่21291 และ 21300 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่กฎหมายกำหนด และป้องกันมิให้น้ำโสโครกไหลซึมเข้ามาในที่ดินของโจทก์ที่ 1 กับให้ร่วมกันหรือ แทนกันสร้างสิ่งป้องกันมิให้สิ่งของตกหล่นจากอาคารจำเลยที่ 2 มาสู่ที่ดินและอาคาร ของโจทก์ทั้งสอง และชำระค่าซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 20,000 บาท และค่าเสียหายวันละ 200 บาท นับจากวันที่ 26 สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะแก้ไขเสร็จ โดยค่าเสียหายดังกล่าวคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 53,400 บาท จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 เคยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งอยู่ติดกับ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 แต่ได้โอนขายให้ประชาชนทั่วไปและเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ จำเลยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2533 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ก่อสร้างและวางแนว ท่อน้ำทิ้งด้วยความระมัดระวังตามกฎหมาย น้ำโสโครกที่ไหลซึมเข้าในที่ดินของ โจทก์ที่ 1 มิใช่เกิดจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้น ภายหลังมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 และ อาคารโชคศิริมิได้เป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว จำเลยที่ 2 มิได้ เป็นผู้กระทำสิ่งของหล่นบนอาคารของโจทก์ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เช่นกัน ทั้งฟ้องโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เรียกค่าเสียหายก็เคลือบคลุม เนื่องจากไม่ได้บรรยายว่า ทรัพย์สินอะไรของโจทก์ทั้งสองเสียหาย และเสียหายอย่างไรและคดีขาดอายุความ เพราะฟ้องเกิน 1 ปี ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรื้อท่อระบายน้ำ บ่อเกรอะ บ่อซึม บ่อพักน้ำโสโครก ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้ออกห่างจาก แนวเขตที่ดินของโจทก์ที่ 1 รวม 2 เมตร และร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย อัตราเดือนละ 1,500 บาท แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 30สิงหาคม 2538 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะแก้ไขมิให้มีน้ำรั่วซึมเข้าบ้านและที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แล้วเสร็จ กับให้ร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดย กำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท คำขออื่นให้ยก จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ทั้งสอง 1,500 บาท จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการแรกว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนท่อระบายน้ำ บ่อเกรอะ บ่อซึม บ่อพักน้ำโสโครก ซึ่งตั้งอยู่ ในที่ดินของจำเลยทั้งสองออกไปให้ห่างจากแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 21291 และ 21300 ของโจทก์ที่ 1 ตามที่กฎหมายกำหนด และป้องกันมิให้น้ำโสโครกไหลซึม เข้ามาในที่ดินของโจทก์ที่ 1ได้อีก เห็นว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับเพื่อให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการระงับความเสียหายอันจะบังเกิดแก่โจทก์ทั้งสองต่อไป ไม่ได้ฟ้องเรียกเอา ค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์ทั้งสองในคำขอ ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์ทั้งสองเรียกค่าเสียหายจากการที่มีน้ำโสโครก ไหลซึมจากที่ดินของจำเลยที่ 1 และจากอาคารจำเลยที่ 2 เข้าไปในที่ดินของโจทก์ ที่ 1 วันละ 200 บาท นั้น ได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน ตำรวจเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2538 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เอกสาร หมาย จ.8 ซึ่งจำเลยที่1 ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสืบหักล้างว่าโจทก์ทั้งสองรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2538 จึงฟังว่าโจทก์ทั้งสอง รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดในวันที่ 17 มิถุนายน 2538 โจทก์ทั้งสองนำคดี มาฟ้องวันที่ 23 เมษายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ทั้งสองที่ฟ้อง เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดก็ไม่ขาดอายุความเช่นกัน ที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาต้องกันมานั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการสุดท้ายว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดและต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองตามฟ้องหรือไม่ จำเลยที่ 1 นำสืบยอมรับ ว่าการก่อสร้างอาคารโชคศิริมีแบบแปลนตามเอกสารหมายจ.19 ซึ่งมีแนววางท่อ น้ำทิ้งตามเส้นสีส้ม และนายบุญลือ เพชรบดี พยานจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนาย โจทก์ทั้งสองถามค้านว่าแนวเส้นสีส้มในแบบแปลนเอกสารหมาย จ.19 เป็นแนว วางท่อของอาคารโชคศิริคอนโดมิเนียม ซึ่งตามแบบแปลนแนววางท่อระบายน้ำทิ้ง ของอาคารโชคศิริคอนโดมิเนียม ซึ่งตามแบบแปลนแนววางท่อระบายน้ำทิ้ง ของอาคารโชคศิริคอนโดมิเนียมอยู่ชิดกันแนวเขตที่ดินของบ้านโจทก์ที่ 2 มาก ที่ดิน ของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 อยู่ชิดติดกันยาวตลอดแนวด้านข้าง และเมื่อได้ พิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 เมษายน 2540 ซึ่ง เป็นวันที่ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท ได้ระบุว่าในบริเวณอาคารชุดมีท่อน้ำทิ้ง ไหลจากบนอาคารมารวมกันที่เสาชั้นล่างของอาคารหลายต้น ซึ่งเสาแต่ละต้นจะมีท่อ เชื่อมไปสู่ท่อน้ำทิ้งใหญ่ บ่อเกรอะบ่อซึมซึ่งอยู่ห่างจากรั้วแบ่งแนวเขตที่ดินของโจทก์ ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 45 เซนติเมตร ตรวจดูท่อน้ำซึ่งไหลออกสู่ท่อ สาธารณะหน้าอาคารชุดแล้ว ห่างจากแนวแบ่งเขตที่ดินของโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 30 เซนติเมตร ดังนี้ จะเห็นได้ว่า จากรายงานการเดินเผชิญสืบของ ศาลชั้นต้น ตรงกันกับแนววางท่อน้ำทิ้งในแบบแปลนเอกสารหมาย จ.19 ซึ่งมีทั้งราง ระบายน้ำและบ่อพักอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขุดบ่อ หรือหลุมรับน้ำโสโครกในระยะห่างจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 1 เมตร การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342วรรคหนึ่ง และวรรคสอง จนเป็นเหตุให้มี น้ำโสโครกรั่วซึมเข้าไปในที่ดินและบ้านของโจทก์ทั้งสองและมีกลิ่นเหม็นไม่อาจพัก อาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านได้ตามปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสอง ได้รับความเสียหายต่ออนามัยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 จะอ้างว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารถูกต้องตามแบบและหลักวิชาการก่อสร้าง และ เหตุที่มีน้ำรั่วซึมเกิดจากการทรุดตัวของดินซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่อาจคาดคิดมาก่อนจำเลย ที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทั้งสองโดยตรง จำเลยที่ 1ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้โอน อาคารชุดที่เกิดเหตุไปให้จำเลยที่ 2 แล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 มายกเว้นความผิดของตนได้ เพราะคดีนี้ ความเสียหายมิได้เกิดขึ้น เพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ ชำรุดบกพร่อง หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่โจทก์ทั้งสองแก้ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก้ไขคำพิพากษา ศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าทนายความให้โจทก์ทั้งสองจากจำนวน 10,000 บาท ลดลง เหลือเพียง 3,000 บาท โจทก์ทั้งสองขอให้กำหนดค่าทนายความตามศาลชั้นต้นนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสองจะร้องขอมาในคำแก้ฎีกาเพื่อให้แก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมตาม คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยมิได้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้" พิพากษายืน (วิชัย วิสิทธวงศ์ - พิชัย เตโชพิทยากูล - สมชัย เกษชุมพล) มนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต - ย่อ |