Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
คำพิพากษาฏีกาย่อสั้น ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ, ก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, บุกรุก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2560คดีนี้อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2553 ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2550 จำเลย กับพวกหลายร้อยคน ได้มั่วสุมบริเวณ ถ.อู่ทองในหน้าอาคารรัฐสภา พวกจำเลยในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการกลุ่มแนวร่วมภาคประชาชนได้ใช้รถบรรทุก 6 ล้อ ติดเครื่องขยายเสียง มาจอดปิดทางเข้าออกรัฐสภา ใช้โซ่ล่ามประตูเข้าออกไม่ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เข้าไปในที่ทำการรัฐสภา ทั้งยังได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในรัฐสภา เพื่อขัดขวางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่ให้พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาจำเลยกับพวกหลายร้อยคนได้บุกอาคารรัฐสภาใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยจนบาดเจ็บ จากนั้นได้เข้าไปชุมนุมที่อาคาร 1 ชั้น 2 ที่ใช้เป็นที่ประชุม สนช.แล้วได้ร่วมกันพูดและส่งเสียงกดดันจนสมาชิกรัฐสภาต้องเลิกการประชุม สนช.ในการพิจารณากฎหมายต่างๆ เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ว่า จำเลยที่ 1-4 และ 7-8 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นผู้สั่งการตามมาตรา 215 วรรค 3 ที่มีโทษบทหนักสุดให้จำคุกคนละ 2 ปีปรับคนละ 9,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5-6 และ 9-10 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตาม ม. 215วรรคแรก จำคุกคนละ 1 ปี และปรับคนละ 9,000 บาท รอลงอาญาสองปี แต่คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลย1-4 และ 7-8 คนละ 1 ปี 4 เดือน และปรับคนละ 6,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5- 6 และ 9-10จำคุกคนละ 8 เดือน และปรับคนละ 6,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดเคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อนและกระทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติ โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาจำเลยทั้งสิบไว้คนละ 2ปี ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยทั้ง 10 และกลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกัน มีการปราศรัยปลุกเร้าผู้ชุมนุมไม่ต้องการให้ สนช.ผ่านร่างกฎหมาย ผู้ชุมนุมได้ใช้โซ่ล็อกประตูรัฐสภาจากด้านนอก ใช้เหล็กครอบปลายแหลมของรั้วรัฐสภา และใช้บันไดพาดรั้วปีนเข้าไปภายใน แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมการเข้าไปในรัฐสภาตั้งแต่ต้น โจทก์มีพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า เห็นผู้ชุมนุมวิ่งมาหน้าห้องประชุมรัฐสภาและยื้อกับเจ้าหน้าที่ พร้อมผลักประตูกระจกเข้าไปด้านใน สอดคล้องกับหลักฐานภาพในซีดี แม้รัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นการที่ผู้ชุมนุมปีนเข้าไปในรัฐสภาซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน และต้องปฏิบัติตามระเบียบรักษาความปลอดภัยของรัฐสภา การที่เจ้าหน้าที่ปิดประตูรั้วรัฐสภาตั้งแต่ต้นเป็นการย้ำว่าไม่ให้มีการเข้าไปด้านในรัฐสภาทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีจำเลยคนใดห้ามปรามไม่ให้มีผู้ชุมนุมเข้าไปด้านใน รวมถึงจำเลยบางรายยังปีนรั้วตามเข้าไปด้วย และมีการผลักประตูกระจกเข้าไปยังห้องโถงของอาคารรัฐสภา ถือได้ว่ามีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข ไม่มีเหตุอันควร การคัดค้านการออกกฎหมาย สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 10 เป็นความผิดตามศาลชั้นต้น แต่เมื่อพิจารณาจากการที่จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุก อายุ อาชีพ การศึกษา เหตุผลและวัตถุประสงค์แล้ว เห็นว่าเป็นพฤติการณ์ไม่ร้ายแรง จึงให้รอการกำหนดโทษคนละ 2 ปี |
คำพิพากษาฏีกาย่อยาว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2560
โจทก์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด จำเลย นายจอน อึ้งภากรณ์ ที่ 1 นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ 2 นายศิริชัย ไม้งาม ที่ 3 นายพิชิต ไชยมงคล ที่ 4 นายอนิรุทธ์ ขาวสนิท ที่ 5 นายนัสเชอร์ ยีหมะ ที่ 6 นายอำนาจ พละมี ที่ 7 นายไพโรจน์ พลเพชร ที่ 8 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ที่ 9 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ที่ 10 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ, ก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, บุกรุก ป.อ. มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 คดีนี้อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2553 ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.2550 จำเลย กับพวกหลายร้อยคน ได้มั่วสุมบริเวณ ถ.อู่ทองในหน้าอาคารรัฐสภา พวกจำเลยในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการกลุ่มแนวร่วมภาคประชาชนได้ใช้รถบรรทุก 6 ล้อ ติดเครื่องขยายเสียง มาจอดปิดทางเข้าออกรัฐสภา ใช้โซ่ล่ามประตูเข้าออกไม่ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เข้าไปในที่ทำการรัฐสภา ทั้งยังได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในรัฐสภา เพื่อขัดขวางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่ให้พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาจำเลยกับพวกหลายร้อยคนได้บุกอาคารรัฐสภาใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยจนบาดเจ็บ จากนั้นได้เข้าไปชุมนุมที่อาคาร 1 ชั้น 2 ที่ใช้เป็นที่ประชุม สนช.แล้วได้ร่วมกันพูดและส่งเสียงกดดันจนสมาชิกรัฐสภาต้องเลิกการประชุม สนช.ในการพิจารณากฎหมายต่างๆ เหตุเกิดที่แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. จำเลยให้การปฏิเสธต่อสู้เรื่องเจตนาว่าการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจะยื่นข้อเสนอเรียกร้องต่อ สนช.ที่เร่งรีบจะพิจารณากฎหมาย 11 ฉบับ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2556 ว่า จำเลยที่ 1-4 และ 7-8 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นผู้สั่งการตามมาตรา 215 วรรค 3 ที่มีโทษบทหนักสุดให้จำคุกคนละ 2 ปีปรับคนละ 9,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5-6 และ 9-10มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตาม ม. 215วรรคแรก จำคุกคนละ 1 ปี และปรับคนละ 9,000 บาทรอลงอาญาสองปี แต่คำให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลย1-4 และ 7-8 คนละ 1 ปี 4 เดือน และปรับคนละ 6,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 5- 6 และ 9-10จำคุกคนละ 8 เดือน และปรับคนละ 6,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดเคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อนและกระทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติ โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาจำเลยทั้งสิบไว้คนละ 2ปี ต่อมาจำเลยทั้ง 10 ยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีว่าการเข้าไปในอาคารรัฐสภาและได้มีการปราศรัยต่อประชาชนนั้น เป็นการสื่อสารเพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการชุมนุมที่จะคัดค้าน สนช.พิจารณากฎหมายและการชุมนุมแสดงความคิดเห็นก็ยังได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญด้วย ต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากจำเลยมีเจตนาคัดค้านว่าไม่ควรเร่งรีบออกกฎหมายที่สำคัญรอสภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ออกกฎหมาย ไม่เป็นความผิด การเข้าไปในรัฐสภาไม่ได้เข้าไปครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นการแสดงจุดยืนยื่นข้อคัดค้านโดยสงบปราศจากอาวุธต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกา โดยในวันนี้จำเลยทั้งหมดเดินทางมายังศาลอาญาเพื่อรับฟังคำพิพากษา มีคนใกล้ชิดและประชาชนจำนวนมากเดินทางมาให้กำลังใจเต็มห้องพิจารณาคดี ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า จำเลยทั้ง 10 และกลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันช่วงเช้ามืดที่ถนนอู่ทองใน หน้าอาคารรัฐสภา มีการปราศรัยปลุกเร้าผู้ชุมนุมไม่ต้องการให้ สนช.ผ่านร่างกฎหมาย ผู้ชุมนุมได้ใช้โซ่ล็อกประตูรัฐสภาจากด้านนอก ใช้เหล็กครอบปลายแหลมของรั้วรัฐสภา และใช้บันไดพาดรั้วปีนเข้าไปภายใน แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมการเข้าไปในรัฐสภาตั้งแต่ต้น โจทก์มีพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า เห็นผู้ชุมนุมวิ่งมาหน้าห้องประชุมรัฐสภาและยื้อกับเจ้าหน้าที่ พร้อมผลักประตูกระจกเข้าไปด้านใน สอดคล้องกับหลักฐานภาพในซีดี แม้รัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นการที่ผู้ชุมนุมปีนเข้าไปในรัฐสภาซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน และต้องปฏิบัติตามระเบียบรักษาความปลอดภัยของรัฐสภา การที่เจ้าหน้าที่ปิดประตูรั้วรัฐสภาตั้งแต่ต้นเป็นการย้ำ ว่าไม่ให้มีการเข้าไปด้านในรัฐสภาทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีจำเลยคนใดห้ามปรามไม่ให้มีผู้ชุมนุมเข้าไปด้านใน รวมถึงจำเลยบางรายยังปีนรั้วตามเข้าไปด้วย และมีการผลักประตูกระจกเข้าไปยังห้องโถงของอาคารรัฐสภา ถือได้ว่ามีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข ไม่มีเหตุอันควร การคัดค้านการออกกฎหมายสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 10 เป็นความผิดตามศาลชั้นต้น แต่เมื่อพิจารณาจากการที่จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุก อายุ อาชีพ การศึกษา เหตุผลและวัตถุประสงค์แล้ว เห็นว่าเป็นพฤติการณ์ไม่ร้ายแรง จึงให้รอการกำหนดโทษคนละ 2 ปี |
Thailawconsult ทนายพี่ตุ๊กตา ทนายณุมาพร พัฒนพงศธร 098-915-0963 |