Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เรื่องที่เป็นของคู่กันกับเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีคือ อุบัติเหตุรถยนต์ วันนี้ทุกท่านกลับมาทำงานกันหมดแล้ว (18 เมษายน 2560) พี่ตุ๊กตา ทนายณุมาพร พัฒนพงศธร โทร. 098-915-0963 ขอนำเรื่องเกี่ยวกับอุบัติเหตุมาลงเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนนะคะ...
รถโดยสารที่บรรทุกผู้โดยสารมาเกิดอุบัติเหตุ ความรับผิดของเจ้าของรถมีบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อคนโดยสารในความเสียหายอันเกิดแก่ตัวเขา หรือในความเสื่อมเสียอย่างใด ๆ อันเป็นผลโดยตรง แต่การที่ต้องชักช้าในการขนส่ง เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสารนั้นเอง
มาตรา 616 ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายหรือบุบสลายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง
ทั้งนี้ แม้ในตั๋วโดยสารส่วนใหญ่จะพิมพ์ด้วยอักษรตัวเล็ก เป็นข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่า จะรับผิดไม่เกินเท่านั้น เท่านี้ แต่ข้อความดังกล่าว กฎหมายบัญญัติว่า ใช้บังคับไม่ได้ หากผู้โดยสารไม่ได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง
มาตรา 639 ตั๋ว ใบรับ หรือเอกสารอื่นทำนองเช่นว่านี้ อันผู้ขนส่งได้ส่งมอบแก่คนโดยสารนั้น หากมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอย่างใด ๆ ท่านว่าข้อความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่คนโดยสารจะได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2511
จำเลยที่ 3 เป็นห้างหุ้นส่วนประกอบการเดินรถยนต์ขนส่งคนโดยสาร จำเลยที่ 2 ได้นำรถคันเกิดเหตุเข้าวิ่งรับส่งคนโดยสารในเครือของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 หักรายได้จากค่าโดยสารที่จำเลยที่ 2 ได้รับไป 10 เปอร์เซ็นต์ 15 วันคิดกันครั้งหนึ่ง ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 มาขับรถดังกล่าวแทนคนขับประจำรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2
เมื่อจำเลยที่ 2-3 เป็นผู้ขนส่งคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และเหตุที่โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นไม่ได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือความผิดของโจทก์แต่ประการใด จำเลยที่ 2-3 จึงต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2-3 ก็ตาม จำเลยที่ 2-3 จะอ้างเหตุไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่