Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
บทความจาก คุณฉัตรกุล สินสงวน (แก้ม) มหาวิทยาลัยทักษิณ
|
นางสาว ฉัตรกุล สินสงวน - เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 64
เมื่อได้รับการติดต่อให้เขียนบทความบอกเล่าประสบการณ์การเรียนเนติ บัณฑิต จังหวะนั้นสมองและร่างกายรู้สึกตื่นเต้น วิตกเล็กๆถึงหัวข้อกังวลว่าจะเขียนอะไรดี แต่ทว่ากลับมีความรู้สึกที่มากกว่า คือ ความรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจอย่างมากที่ได้รับเกียรติเช่นนี้
เส้นทางชีวิตนักศึกษากฎหมายกว่าจะสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทย
เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปและไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าชีวิตของนักศึกษา กฎหมายนั้นเมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต จำต้องเรียนต่อเนฯ หากไม่ต่อเนฯก็เรียนต่อป.โท บางคนอาจเลือกเรียนไปพร้อมกันหรือไม่ก็เลือกเรียนที่ใดที่หนึ่งก่อน ซึ่งเส้นทางการศึกษากฎหมายก็มีรูปแบบที่ชัดเจน แก้มเองก็เป็นคนหนึ่งที่เดินทางตามเส้นทางการศึกษากฎหมายดังกล่าวด้วยการ เลือกเรียนเนฯเป็นลำดับแรกแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
สมัยครั้งยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นปีต้นๆยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า เรียนเนฯคืออะไรได้ยินแต่เพียงชื่อเท่านั้นมาเข้าใจว่าเรียนเนฯเป็นแบบใดก็ ตอนเรียนปีสามเทอมปลาย แก้มเองเรียนจบจากมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา เป็นรุ่น1 ของที่นั่นเรียกว่าเป็นรุ่นก่อร่างสร้างตึกของที่นั่นแต่ไม่ถึงกับต้องไปถาง หญ้าแต่ประการใดน่ะค่ะ แรกเข้าอาจารย์ประจำคณะกล่าวว่า เรียนนิติฯ เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ประมวลกฎหมายก็เหมือนกัน ทุกสิ่งอยู่ที่ความตั้งใจของเรา อยู่ที่ตัวเราเป็นสำคัญ คำกล่าวเช่นว่านั้นก็เป็นจริงดังท่านว่าทุกประการ สมัยเรียนแก้มและเพ่ือนในรุ่นโชคดีค่ะ ทางคณะได้เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมาย มาบรรยายพิเศษในเนื้อหากฎหมายแต่ละรายวิชา ท่านเหล่านั้นได้ให้แนวทางในการศึกษาต่อเนติบัณฑิตและในระดับที่สูงขึ้น ท่านเล่าประสบการณ์ถึงวิธีการเรียนเนฯในแบบฉบับของท่าน ตั้งแต่การจัดตารางอ่านหนังสือรวมถึงแนะนำให้สั่งซื้อรวมเล่มคำบรรยายที่ทาง สำนักอบรมฯจัดพิมพ์เป็นรายสมัย โดยให้สั่งล่วงหน้าก่อนสมัยที่จะเข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า คราวนี้เมื่อได้แนวทางก็ขึ้นอยู่ที่แต่ล่ะคนจะนำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเอง ให้มากที่สุด
มีอาจารย์บางท่าน ท่านแนะนำว่าการศึกษาที่เนติบัณฑิตในหนึ่งสมัย มีวิชาที่ต้องสอบไล่ต่อภาคการศึกษา ซึ่งแต่ละภาคการศึกษา มี ๒ กลุ่มวิชา หรือที่เรียกสั้นๆและเข้าใจกันทั่วไปว่า"ขา"สองภาคฯ มี๔ขา ท่านแนะว่าให้ทุ่มเทและขยันอ่านหนังสือ สอบไล่เก็บไปภาคฯละขา สองสมัย 4 ขาก็สำเร็จเป็นเนติบัณฑิตได้ แต่แก้มกลับมีความคิดสวนทางกับอาจารย์ ไม่ใช่คำแนะนำของอาจารย์ไม่ดีแต่อย่างใดน่ะค่ะ แต่ในเมื่อทางสำนักอบรมได้จัดหลักสูตรแบบเปิดโอกาสให้สอบไล่ได้ภาคฯละ๒ขา เรียนและสอบไล่สมัยเดียวก็มีโอกาสสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตได้ ทั้งๆที่แก้มก็ประเมินตัวเองว่าไม่ใช่คนที่มีความจำดีที่อ่านหนังสือแล้วจำ ได้หรือเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว แต่แก้มกลับมีความคิดที่จะลุยและมีใจที่จะสู้ว่าถึงอย่างไรก็จะอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนและตั้งใจว่าจะสอบภาคฯละ๒ขาไปพร้อมกันเลยค่ะ ถ้าสอบไล่ไม่ผ่านขาหนึ่ึงก็ยังมีลุ้นที่จะสอบผ่่านในอีกขาหนึ่ง ถ้าไม่ผ่านทั้งสองขาก็ลุยและสู้ต่อ ถ้าสอบไล่ผ่านคราวเดียวทั้งสองขาก็นับเป็นความโชคดีสมกับความตั้งใจ การที่เราจะสอบไล่ผ่านหรือไม่่ จะต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญคือเราต้องได้เข้าสอบก่อนค่ะ
ชีวิตนักศึกษาเนฯเรียบง่ายแต่ใจต้องลุย
ชีวิตนักศึกษาเนฯไม่ได้ต่างอะไรกับนักกีฬาอาชีพสักเท่าไหร่คุณคิดเหมือน กันไหมค่ะ นักกีฬาอาชีพต้องหมั่นฝึกซ้อมเก็บตัวเป็นแรมปี นักวิ่งต้องซ้อมวิ่งวันละหลายพันเมตรเพื่อลงแข่งวิ่งไม่กี่ร้อยเมตร ภายในไม่กี่วินาทีฉันใด นักศึกษาเนฯก็ต้องอ่านหนังสือสะสม ฝึกเขียนตอบข้อสอบวันละหลายชั่วโมง ทำเช่นนี้ตลอดทั้งภาคการศึกษารวมระยะเวลา ๔ เดือน เพื่อลงสนามสอบไล่เขียนตอบข้อสอบเพียงแค่ ๔ ชั่วโมง ฉันนั้น
ชีวิตนักศึกษาเนฯของแก้มก็เหมือนชีวิตนักศึกษาเนฯคนอื่นๆทั่วไปค่ะ คือมีกิจวัตรที่คล้ายๆกันในทุกวันในแบบเรียบง่าย ในหนึ่งวัน เมื่อตื่นและจัดแจงทำกิจวัตรส่วนตัว แก้มช่วยที่บ้านทำงานบ้านในช่วงเช้า ได้อ่านหนังสืออีกทีก็ประมาณ ๑๐.๐๐น อ่านได้สักสามชั่วโมง พักสมองและสายตา ทานอาหารให้ท้องอิ่ม เริ่มอ่านอีกครั้งช่วงบ่าย ๑๓.๐๐น ถึง ๑๖.๐๐น โดยประมาณ นั่งพักสัก ๑๐ นาทีอาบน้ำให้สดชื่น เตรียมอุปกรณ์การเรียน เดินทางไปฟังบรรยายภาคค่ำ แก้มเรียนเนฯที่ต่างจังหวัดค่ะ ทุกวันกิจวัตรก็จะเป็นเช่นนี้เรื่อยไปค่ะ บางวันก็ไม่ได้อ่านหนังสือครบตามชั่วโมงที่ได้บอกข้างต้นหรอกน่ะค่ะเพราะบาง ครั้งก็มีความจำเป็นที่ต้องทำอย่างอื่นเรียกว่ามีเหตุแทรกแซง แต่ทุกวันก็จะพยายามอ่านหนังสือโดยใช้เวลาตามที่กำหนดให้ได้มากที่สุดเท่า ที่จะมากได้
ชอบเป็นผู้ฟังที่ดีมากกว่าผู้อ่าน
- แก้มเรียนเนฯโดยอยู่บ้านที่ต่างจังหวัด อาศัยเดินทางไปฟังคำบรรยายภาคค่ำที่มหาวิทยาลัยที่เป็นสถานที่ถ่ายทอดสัญญาณ ดาวเทียมจากทางสำนักอบรม โดยส่วนตัวแก้มชอบฟังบรรยายมากกว่าการอ่าน สำหรับแก้มการฟังบรรยายช่วยให้อ่านหนังสือได้เร็วขึ้นประหยัดเวลาในการอ่าน ได้เยอะสามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แก้มเข้าฟังบรรยายของอาจารย์ที่สอนภาคค่ำทุกท่านไม่ได้เลือกเข้าฟัวบรรยาย ของอาจารย์ท่านใดเป็นพิเศษเพราะถือว่าชั่วโมงเรียนในภาคค่ำก็ไม่ได้มาก อาจารย์บางท่านนอกจากการสอนเนื้อหาแล้วยังสอดแทรกเทคนิคในการใช้ชีวิิตอีก ด้วยค่ะ
หนังสือที่ใช้อ่านและวิธีการอ่าน
- แก้มอ่านคำบรรยายที่พิมพ์ออกเป็นรายสัปดาห์ที่ทางสำนักอบรมจัดพิมพ์ ขณะอ่านก็จดโน๊ตย่อลงในที่ว่างในประมวลกฎหมายตามแต่ล่ะมาตรา โดยอธิบายหลักกฎหมายหรือข้อสำคัญขยายความตัวบทให้ตัวเราเข้าใจ เพื่อใช้ทบทวนตัวบทในเวลาใกล้สอบ หากเนื้อหาในคำบรรยายวิชาใดอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ชัดเจนก็จะหาซื้อ คำบรรยายเฉพาะรายวิชานั้นที่ทางสำนักอบรมจัดพิมพ์มาอ่านเพิ่มเติม
- อ่านคำพิพากษาฎีกาเฉพาะหลักกฎหมายเพื่อนำหลักกฎหมายไปใช้ในการเขียนตอบข้อ สอบ อีกอย่างคำพิพากษาฎีกาช่วยเป็นธง ทำให้เราตัดสินใจตอบข้อสอบได้เร็วขึ้นและช่วยทำให้เห็นประเด็นในข้อสอบได้ ง่ายยิ่งขึ้น
- ท่องตัวบท ท่องเรื่อยๆในทุกวันและเน้นท่องแบบทำความเข้าใจในมาตราสำคัญเพื่อจำหลักให้แม่นในสองสัปดาห์ก่อนสอบ
- คุยแลกเปลี่ยนประเด็นกับเพื่อนในรุ่น และเพื่อนที่เข้าฟังบรรยายภาคค่ำด้วยกัน
- การทำข้อสอบ เมื่อได้รับข้อสอบ ก่อนลงมือทำจะอ่านคำถามสิบข้อทั้งหมดก่อน โดยจะใช้เวลา ๑๐-๑๕ นาที แล้วใช้ปากกาแดงที่เตรียมไปขีดคำสำคัญ เพื่อหาประเด็นของคำถามในข้อสอบ เขียนเลขมาตราที่สำคัญที่นึกออกไว้ข้างๆข้อสอบแต่ละข้อ จากนั้นทำข้อที่คิดออกได้ก่อน โดยใช้เวลาแต่ละข้อไม่เกิน ๒๐ นาที ทำให้ครบทั้งสิบข้อ หากมีเวลาเหลือก็ทบทวนค่ะ ว่าเขียนผิดตรงไหนบ้าง ขาดประเด็นใดไปบ้าง หากเป็นไปได้ แทรกคำตอบได้ก็แทรกค่ะ หากเวลาที่เหลือทบทวนไม่พอก็ต้องทำใจค่ะ การเขียนตอบพยายามเขียนให้ลายมืออ่านง่าย เขียนตัวใหญ่ๆ และเว้นวรรค การตอบจะเขียนหลักกฎหมายในทุกข้อ เน้นหลักกฎหมายและปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงที่โจทย์ถามเป็นสำคัญ
- หาแรงบันดาลใจให้กับตัวเองเสมอเพื่อเป็นแรงผลักดันไม่ใช่แรงกดดัน
ก่อนเรียนเนฯแก้มเดินทางกลับบ้านคุณตาที่ต่างจังหวัดได้มีโอกาสเดินทางไป บ้านพี่สาวท่านหนึ่งซึ่งครอบครัวเรารู้จักกันมานานมากแล้วค่ะ พี่สาวคนนี้เธอเก่งค่ะ เธอจบนิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบเนติบัณฑิต สมัยที่ ๕๗ ปัจจุบันเป็นพนักงานสอบสวนหญิง ติดยศ ร้อยตำรวจเอกหญิง เป็นพนักงานสอบสวนของ สน.แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯค่ะเมื่อเห็นรูปถ่ายเนติบัณฑิต เห็นความสำเร็จแห่งวิชาชีพ ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้ใจสู้และอดทนเพื่อให้ตัวเองสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต อย่างเขาบ้าง นอกจากนี้แก้มยังเห็นแบบอย่างที่ดีจากคนใกล้ตัวซึ่งเป็นญาติพี่น้องประกอบ อาชีพทางด้านกฎหมาย และในอีกหลากหลายอาชีพแก้มเห็นแบบอย่างที่ดีเห็นความสำเร็จ ส่วนหนึ่งแก้มก็ได้แรงบันดาลใจ ทัศนคติและกำลังใจจากพวกเขาให้มีใจสู้สอบเป็นเนติบัณฑิตให้ได้ในเร็ววัน
- ตั้งแต่สมัยเรียนเนฯหรือแม้กระทั่งจบเนฯแล้วแก้มชอบหาแรงบันดาลใจเพื่อสร้าง กำลังใจให้ตัวเองเสมอค่ะ บางครั้งหากมีเวลาก็มักไปฟังการพิจารณาที่ศาลบ้างค่ะ มีประสบการณ์จะเล่าให้ฟังค่ะ มีครั้งนึงค่ะ ไปฟังการพิจารณาคดีของศาลเป็นคดีทำร้ายร่างกายที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ค่ะ เดินเข้าไป ท่านผู้พิพากษา ถามว่า นั่นแพทย์ที่จะมาเบิกความใช่ไหม เชิญนั่งรอก่อน ท่านอัยการก็ได้แต่ยิ้มน้อยๆ คงเพราะไม่ได้อ้างพยานบุคคลปากนั้นมาหรือเพราะมีการรับข้อเท็จจริงกันไป เรียบร้อยแล้ว แก้มเองก็ยิ้มแล้วตอบว่า:ไม่ใช่ค่ะมานั่งฟังการพิจารณา ศาลท่านก็ดำเนินการสืบพยานต่อไป เมื่อจบการพิจารณา แก้มไหว้ขอบคุณทุกท่าน ก่อนออกจากห้องพิจารณาท่านผู้พิพากษาท่านน่ารักค่ะ ท่านบอกว่าการพิจารณาของศาลเป็นไปอย่างเผย สามารถเข้ามาฟังได้ ดีแล้วล่ะที่เข้ามานั่งฟัง ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จ วันนั้นแก้มเป็นปลื้มที่ได้แรงบันดาลใจดีๆ ไม่ให้ปลื้มได้อย่างไรล่ะค่ะท่านทักว่าเป็นแพทย์เชียวน่ะค่ะ แต่อีกใจนึงก็รู้สึกว่า สงสัยแก้มคงจะดูอายุเยอะไปแน่เลยค่ะ ประมาณว่าหน้าตาแก่ก่อนวัย ดีน่ะค่ะว่าถูกทักหลังจากที่จบเนฯแล้ว ก็คงปฎิเสธไม่ได้ค่ะว่านักศึกษากฎหมายมีความเครียด เมื่อถูกมองแล้วมักประมาณคาดเดาอายุที่แท้จริงไม่ได้ มักถูกหน้าตาทรยศอายุที่แท้จริงอยู่ร่ำไป ฉะนั้นจึงอยากให้ทุกท่านใส่ใจและดูแลตัวเอง ควรหมั่นออกกำลังกาย อย่าปล่อยให้ความเครียดมารังแกร่างกายของเราให้แย่ลงน่ะค่ะ
เรื่องเล่าวันสอบปากเปล่ากับที่มาของฉายาเนติบัณฑิตภูธร
ก่อนตอบคำถามที่เป็นเนื้อหากฎหมาย อาจารย์ซึ่งเป็นคณะกรรมการได้ไต่ถามถึงประวัติส่วนตัว
อาจารย์ : คุณเรียนจบนิติศาสตร์จากที่ใดมา?
ดิฉัน : มหาวิทยาลัยทักษิณสงขลาค่ะ
อาจารย์ : เธอเรียนเนติฯที่นี่ใช่ไหม? (ท่านกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนั่งตรงกลางของโต๊ะกรรมการเป็นผู้ถาม)
ดิฉัน : ไม่ใช่ค่ะ อาศัยฟังบรรยายภาคค่ำผ่านดาวเทียม ที่ปักษ์ใต้ค่ะ
อาจารย์ (ท่านเดิม) : มีบรรยายถ่ายทอดไปต่างจังหวัดด้วยหรือ นึกว่ามีแต่ในกทม.เท่านั้น
อาจารย์(อีกท่าน) : ท่านชื่ออาจารย์อำนาจ พวงชมพู (ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะคะ) อย่าสลับนามสกุลของท่านเป็นอันขาด สลับนิดเดียวกลายเป็นนักชกโอลิมปิกเลยนะคะ
ท่านหันไปตอบอาจารย์ที่ตั้งคำถามว่า....
อาจารย์ : มีครับพี่ ผมบรรยายอยู่ (แล้วท่านก็หันกลับมาถามดิฉัน) ว่าจำอาจารย์หรือเคยเห็นอาจารย์ทางหน้าจอบ้างไหม?
ดิฉัน : (พยักหน้าพร้อมตอบ) จำได้ค่ะ
อาจารย์ (ที่นั่งตรงกลางท่านเดิม) : เธอมาที่สำนักอบรมกี่ครั้ง?
ดิฉัน : ครั้งแรกเดินทางมาสมัครเป็นนักศึกษา และเดินทางมาสอบปากเปล่าครั้งนี้เป็นครั้งที่สองค่ะ
อาจารย์ : งั้นเธอก็เป็นเนติฯภูธรนะซิ
บรรยากาศเริ่มเป็นกันเองและผ่อนคลาย จากนั้นก็เริ่มตอบคำถามข้อสอบปากเปล่า
เห็นไหมคะว่า เรียนเนติฯที่ไหนไม่สำคัญ หากเรามีความมุ่งมั่นและมีใจสู้ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม่ย่อท้อ รับรองว่าความสำเร็จที่จะเป็นเนติบัณฑิตไทยก็ไม่ไกลเกินไป แม้แต่เนติบัณฑิตภูธรอย่างดิฉันก็สามารถสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตสมัยที่ ๖๔ ได้เลยค่ะ
จากใจ
นางสาว ฉัตรกุล สินสงวน
เนติบัณฑิตไทยสมัยที่ ๖๔