Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด 1 การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด ได้แก่ตน
มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไป จากเวลาดั่งระบุไว้ในคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาทของบุคคลนั้น
มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม"
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"
หมวด 2 การเป็นทายาท
มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล หรือสามารถมีสิทธิได้ตาม มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน สามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารก ในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
มาตรา 1605 ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่า ส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อม ประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลยแต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์ มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตน จะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้าย หรือปิดบังไว้นั้น
มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น
มาตรา 1606 บุคคลดั่งต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็น ผู้ไม่สมควร คือ
(1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายาม กระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดย มิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเอง กลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ
(3) ผู้ที่รู้แล้วว่า เจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้น ขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริ ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการีหรือผู้ สืบสันดานของตนโดยตรง
(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลง พินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำ การดั่งกล่าวนั้น
(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้ โดยให้อภัย ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรา 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัวผู้สืบ สันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตาย แล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ทายาทที่ว่า นั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับ โดยอนุโลม
หมวด 3 การตัดมิให้รับมรดก
มาตรา 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับ มรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง
(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน
แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็น ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
มาตรา 1609 การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้น จะถอนเสียก็ได้
ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่ โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้
หมวด 4 การสละมรดกและอื่นๆ
มาตรา 1610 ถ้ามรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริตหรือ บุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรม หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงาน อัยการร้องขอ ก็ให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
มาตรา 1611 ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่ สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดั่งต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีและได้รับอนุมัติจากศาลแล้ว คือ
(1) สละมรดก
(2) รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข
มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมี เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้
การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้
มาตรา 1614 ถ้าทายาทสละมรดกด้วยวิธีใดโดยที่รู้อยู่ว่าการที่ทำเช่น นั้นจะทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอน การสละมรดกนั้นเสียได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะ ที่สละมรดกนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทาง ให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้น ด้วยแต่หากกรณีเป็นการสละ มรดกโดยเสน่หาเพียงแต่ทายาทผู้สละมรดกเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอ แล้วที่จะขอเพิกถอนได้
เมื่อได้เพิกถอนการสละมรดกแล้ว เจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลสั่งเพื่อให้ตน รับมรดกแทนที่ทายาทและในสิทธิของทายาทนั้นก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้ชำระหนี้ของทายาทนั้นให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ถ้าส่วน ของทายาทนั้นยังมีเหลืออยู่อีก ก็ให้ได้แก่ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นหรือทายาทอื่นของเจ้ามรดกแล้วแต่กรณี
มาตรา 1615 การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้า มรดกตาย
เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละ มรดกนั้นจะได้รับแต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น
มาตรา 1616 ถ้าผู้สืบสันดานของผู้สละมรดกได้มรดกมาดั่งกล่าว ไว้ใน มาตรา 1615 แล้ว ผู้ที่ได้สละมรดกนั้นไม่มีสิทธิในส่วนทรัพย์สิน อันผู้สืบสันดานของตนได้รับมรดกมาในอันที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุ ไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้และให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1617 ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้นั้นรวมตลอดทั้ง ผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น
มาตรา 1618 ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป
มาตรา 1619 ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใดซึ่งสิทธิ อันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้
ลักษณะ 2 สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรม ไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของ ผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่าย โดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรม ตามกฎหมาย
มาตรา 1621 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัย กรรมเป็นอย่างอื่น แม้ทายาทโดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่ง อย่างใดตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาส่วนโดย ธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจน เต็มอีกก็ได้
มาตรา 1622 พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่ เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้อง ภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754
แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
มาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้
มาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้วการคิดส่วนแบ่งและการปัน ทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ให้เป็นไปดั่งนี้
(1) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้อยู่ในบังคับ ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการหย่าโดยยินยอม ทั้งสองฝ่ายอันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ใน มาตรา 1637 และ มาตรา 1638 และโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1513 ถึง มาตรา 1517 แห่งประมวลกฎหมายนี้แต่การคิดส่วนแบ่งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่การ สมรสได้สิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น
(2) ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้อยู่ในบังคับของ บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ นอกจาก มาตรา 1637 และ มาตรา 1638
มาตรา 1626 เมื่อได้ปฏิบัติตาม มาตรา 1625 (1) แล้ว ให้คิดส่วน แบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมดั่งต่อไปนี้
(1) ทรัพย์มรดกนั้นให้แบ่งแก่ทายาทตามลำดับและชั้นต่าง ๆ ดั่งที่ บัญญัติไว้ในหมวด 2 แห่งลักษณะนี้
(2) ส่วนแบ่งอันจะได้แก่ทายาทในลำดับและชั้นต่าง ๆ นั้นให้แบ่ง ในระหว่างบรรดาทายาทในลำดับและชั้นนั้น ๆ ดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 แห่งลักษณะนี้
มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1628 สามีภริยาที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาด จากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกัน และกัน
หมวด 2 การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง
มาตรา 1635
มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้า มรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ใน ชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทน
ส่วนที่ 1 ญาติ
มาตรา 1632 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1629 วรรคสุดท้าย การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติใน ส่วนที่ 1 แห่งหมวดนี้
มาตรา 1633 ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 นั้นชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าใน ลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด
มาตรา 1634 ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่ง ของสายหนึ่ง ๆ ตามบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกดั่งนี้
(1) ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่ โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด
ส่วนที่ 2 คู่สมรส
มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด
มาตรา 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 หลายคนยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันมีสิทธิได้รับมรดกตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งดั่งระบุไว้ใน มาตรา 1635 แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อย แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งส่วนที่ภริยาหลวงจะพึงได้รับ
มาตรา 1637 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้รับประโยชน์ ตามสัญญาประกันชีวิต คู่สมรสฝ่ายนั้นมีสิทธิรับจำนวนเงินทั้งหมดที่ ได้ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัย แต่จำต้องเอาจำนวนเบี้ยประกันภัยเพียงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ผู้ตายจะพึงส่งใช้เป็นเบี้ย ประกันภัยได้ตามรายได้หรือฐานะของตนโดยปกติไปชดใช้สินเดิมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือสินสมรสแล้วแต่กรณี
ถึงอย่างไรก็ดี จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนตามบท บัญญัติข้างต้นนั้น รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัย ได้ชำระให้
มาตรา 1638 เมื่อคู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้ลงทุนออกเงินในการทำสัญญา และตามสัญญานั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับเงินปีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ร่วม กันและเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ยังจะต้องได้รับเงินปี ต่อไปตลอดอายุ ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จำต้องชดใช้สินเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสินสมรสแล้วแต่กรณี สุดแต่ว่าได้เอาเงินสินเดิมหรือสินสมรสไปใช้ใน การลงทุนนั้น เงินที่จะต้องชดใช้สินเดิมหรือสินสมรสดั่งว่านี้ ให้ชดใช้เท่า จำนวนเงินซึ่งผู้จ่ายเงินรายปีจะเรียกให้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อผู้จ่าย จะได้เงินรายปีให้แก่คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต่อไป
หมวด 4 การรับมรดกแทนที่กัน
มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
มาตรา 1640 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้
มาตรา 1641 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้ แก่ทายาทนั้นเท่านั้นห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
มาตรา 1642 การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่าง ทายาทโดยธรรม
มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบ สันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่
มาตรา 1644 ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิ บริบูรณ์ในการรับมรดก
มาตรา 1645 การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดกแทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบ มรดกบุคคลอื่น
ลักษณะ 3 พินัยกรรม
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 1646 บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการ เผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็น ผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้
มาตรา 1647 การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้น ย่อมทำ ได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม
มาตรา 1648 พินัยกรรมนั้นต้องทำตามแบบซึ่งระบุไว้ในหมวด 2 แห่งลกษณะนี้
มาตรา 1649 ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ใน อันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดย เฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น
ถ้า ผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวน มากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคล ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น
มาตรา 1650 ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใด ในการจัดทำศพนั้น ให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่ระบุไว้ใน มาตรา 253 (2) แห่งประมวลกฎหมายนี้
ถ้าการจัดการทำศพต้องชักช้าไปด้วยประการใด ๆ ให้บุคคลผู้มี อำนาจตามความในมาตรา ก่อนกันเงินเป็นจำนวนอันสมควรจากสิน ทรัพย์แห่งกองมรดกเพื่อใช้ในการนี้ โดยให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใด คนหนึ่งร้องต่อศาลได้ในกรณีที่ไม่ตกลงหรือคัดค้านการกันเงินจำนวนนั้น
กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม เงินค่าใช้จ่ายหรือเงินที่กันไว้อันเกี่ยว กับการจัดการทำศพนั้น ให้กันไว้ได้แต่เพียงจำนวนตามสมควรแก่ ฐานะในสมาคมของผู้ตาย แต่จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียต่อสิทธิของ เจ้าหนี้ของผู้ตาย
มาตรา 1651 ภายใต้บังคับบทบัญญัติลักษณะ 4
(1) เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ มรดกทั้งหมดของเจ้ามรดก หรือตามเศษส่วน หรือตามส่วนที่เหลือ แห่งทรัพย์มรดกซึ่งมิได้แยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากกองมรดก บุคคล นั้นเรียกว่าผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป และมีสิทธิและความรับผิด เช่นเดียวกับทายาทโดยธรรม
(2) เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สิน เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ซึ่งเจาะจงไว้โดยเฉพาะ หรือแยกไว้ต่างหากเป็น พิเศษจากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ และมีสิทธิและความรับผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น
ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับพินัยกรรมเป็น ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ
มาตรา 1652 บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทำพินัยกรรม ยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้ปกครองหรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบ สันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้ จนกว่าผู้ปกครองจะได้ทำ คำแถลงการณ์ปกครองตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1577 และ มาตราต่อ ๆ ไปแห่งประมวลกฎหมายนี้เสร็จสิ้นแล้ว
มาตรา 1653 ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยาน ในพินัยกรรมด้วย
พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมา แจ้ง ตาม มาตรา 1663 ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมาย แห่ง มาตรานี้
มาตรา 1654 ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณา แต่ในเวลาที่ทำพินัยกรรมเท่านั้น
ความสามารถของผู้รับพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตายเท่านั้น
หมวด 2 แบบพินัยกรรม
มาตรา 1655 พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อ รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม ไว้ในขณะนั้น
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับ การทำพินัยกรรมตาม มาตรานี้
มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ ก็ได้กล่าวคือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความ ทั้งหมด วัน เดือนปี และลายมือชื่อของตน
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และ ลงลายมือชื่อกำกับไว้
บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่ พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้
มาตรา 1658 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์ จะให้ใส่ไว้ใน พินัยกรรมของตนแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีก อย่างน้อยสองคน พร้อมกัน
(2) กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
(3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความที่กรมการ อำเภอจดนั้นเป็นการถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรม แจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(4) ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อ และลงวัน เดือน ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้น ได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติอนุ มาตรา (1) ถึง (3) ข้างต้น แล้ว ประทับตราตำแหน่ง ไว้เป็นสำคัญ
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรม นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และกรมการอำเภอ จะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
มาตรา 1659 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น จะทำ นอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ เมื่อมีการร้องขอเช่นนั้น
มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
(2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้นแล้วลงลายมือชื่อคาบรอย ผนึกนั้น
(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการ อำเภอและพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมด เหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้ เป็นผู้เขียนเองโดยตลอดผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนา ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
(4) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและ ประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้ กรมการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้น ย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะ ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
มาตรา 1661 ถ้าบุคคลผู้เป็นทั้งใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้มี ความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารลับ ให้ผู้นั้นเขียนด้วย ตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้ากรมการอำเภอและพยาน ซึ่งข้อความ ว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำดั่งที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1660 (3) และถ้าหากมีผู้เขียนก็ให้เขียนชื่อกับภูมิลำเนาของ ผู้เขียนพินัยกรรมนั้นไว้ด้วย
ให้กรมการอำเภอจดลงไว้บนซองเป็นสำคัญว่า ผู้ทำพินัยกรรม ได้ปฏิบัติตามข้อความในวรรคก่อนแล้วแทนการจดถ้อยคำของผู้ทำ พินัยกรรม
มาตรา 1662 พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือ เอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการ อำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใด ๆ กรมการอำเภอจำต้อง ส่งมอบให้
ถ้าพินัยกรรมนั้นทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอคัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อ ประทับตรา ตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะเปิดเผยแก่บุคคลอื่นใด ไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่
มาตรา 1663 เมื่อพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัย กรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่นตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย หรือ เวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้
เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้า พยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อ ความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวันเดือน ปี สถานที่ ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย
ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้อง ลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้นจะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลาย พิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน
มาตรา 1664 ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตาม มาตรา ก่อน นั้นย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลา ผู้ทำพินัยกรรมกลับ มาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้
มาตรา 1665 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656 มาตรา 1658 มาตรา 1660 จะให้เสมอกับลงลายมือชื่อได้ ก็แต่ด้วยลงลาย พิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น
มาตรา 1666 บทบัญญัติ มาตรา 9 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656 มาตรา 1658 มาตรา 1660
มาตรา 1667 เมื่อคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ พินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ก็ได้
เมื่อทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ อำนาจและหน้าที่ ของกรมการอำเภอตาม มาตรา 1658 มาตรา 1660 มาตรา 1661 มาตรา 1662 มาตรา 1663 ให้ตกแก่บุคคลดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) พนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย กระทำการตามขอบอำนาจของตน หรือ
(2) พนักงานใด ๆ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของต่างประเทศนั้น ๆ ที่จะรับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานได้
มาตรา 1668 ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัย กรรมนั้นให้พยานทราบ เว้นแต่กฎหมายจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1669 ในระหว่างเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะการรบหรือการ สงคราม บุคคลที่รับราชการทหารหรือทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหาร จะทำพินัยกรรมตามแบบที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1658 มาตรา 1660 หรือ มาตรา 1663 ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านั้น ให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหาร ชั้นสัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ
บทบัญญัติวรรคก่อนให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลที่รับราชการทหารหรือ ทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหารทำพินัยกรรม ในต่างประเทศ ในระหว่างที่ ปฏิบัติการเพื่อประเทศในภาวะการรบหรือการสงครามในต่างประเทศโดย อนุโลม และในกรณีเช่นว่านี้ ให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหารชั้นสัญญา บัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย
ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตามความในสองวรรคก่อนนั้นป่วยเจ็บหรือต้องบาดเจ็บ และอยู่ในโรงพยาบาล ให้แพทย์แห่งโรงพยาบาลนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอหรือพนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย แล้วแต่กรณีด้วย
มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
มาตรา 1671 เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความ แห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน
ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อ ท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ
มาตรา 1672 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลาโหมและ ต่างประเทศ มีอำนาจและหน้าที่เท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ที่จะออกกฎกระทรวง เพื่อให้การเป็นไปตามประมวลกฎหมายบรรพนี้ รวมทั้งกำหนด อัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น
หมวด 3 ผลและการตีความแห่งพินัยกรรม
มาตรา 1673 สิทธิและหน้าที่ใด ๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมให้ มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป เว้นแต่ ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาให้มีผลบังคับเรียก ร้องกันได้ภายหลัง
มาตรา 1674 ถ้าข้อกำหนดพินัยกรรมมีเงื่อนไข และเงื่อนไขนั้น สำเร็จเสียก่อนเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย หากว่าเป็นเงื่อนไขบังคับ ก่อนข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นมีผลเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย หากว่าเป็น เงื่อนไขบังคับหลัง ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันไร้ผล
ถ้าเงื่อนไขบังคับก่อนสำเร็จภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อ กำหนดพินัยกรรมมีผลตั้งแต่เวลาเงื่อนไขสำเร็จ
ถ้าเงื่อนไขบังคับหลังสำเร็จภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อ กำหนดพินัยกรรมมีผลตั้งแต่เวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่ตกเป็น อันไร้ผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ
แต่ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดไว้ในพินัยกรรมว่า ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคก่อนนั้น ให้ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขมีผลย้อนหลังไป ถึงเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ก็ให้เป็นไปตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม นั้น
มาตรา 1675 เมื่อพินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน ผู้รับประโยชน์ ตามข้อความแห่งพินัยกรรมนั้นจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน ที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นจนกว่าจะถึงเวลาที่เงื่อนไขสำเร็จหรือจนกว่า ความสำเร็จเงื่อนไขตกเป็นอันพ้นวิสัยก็ได้
ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะตั้งผู้ร้องนั้นเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเสียเอง และเรียกให้ผู้ร้องนั้นวางประกันตามที่สมควรก็ได้
มาตรา 1676 พินัยกรรมจะทำขึ้นโดยให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระ ติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ หรือจะสั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรง เพื่อ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามบทบัญญัติ มาตรา 110 แห่งประมวล กฎหมายนี้ก็ได้
มาตรา 1677 เมื่อมีพินัยกรรมก่อตั้งมูลนิธิขึ้นตาม มาตรา ก่อนให้เป็น หน้าที่ของทายาทหรือผู้จัดการมรดกแล้วแต่กรณีที่จะต้องร้องขอให้ รัฐบาลให้อำนาจจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตาม มาตรา 114 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
ถ้าบุคคลดั่งกล่าวแล้วมิได้ร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจ บุคคลผู้มีส่วน ได้เสียคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้
มาตรา 1678 เมื่อมูลนิธิใดซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมได้ตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้ว ให้ถือว่าทรัพย์สินซึ่งผู้ทำพินัยกรรมจัดสรรไว้เพื่อการนั้น ตกเป็นของนิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผล เว้นแต่จะมีข้อ กำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
มาตรา 1679 ถ้าจัดตั้งมูลนิธิขึ้นไม่ได้ตามวัตถุที่ประสงค์ ให้ทรัพย์สิน ตกทอดไปตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ถ้าพินัยกรรมไม่ได้ระบุไว้ เมื่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือ พนักงานอัยการ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ ให้ ศาลจัดสรรทรัพย์สินนั้นให้แก่นิติบุคคลอื่น ซึ่งปรากฏว่ามีวัตถุที่ ประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
ถ้าหากว่าจัดสรรทรัพย์สินอย่างนี้ไม่ได้ดี หรือว่ามูลนิธินั้นตั้งขึ้น ไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันของประชาชนก็ดี ข้อกำหนดพินัยกรรมในการจัด ตั้งมูลนิธินั้นเป็นอันไร้ผล
มาตรา 1680 เจ้าหนี้ของผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิก ถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งก่อตั้งมูลนิธินั้นได้เพียงเท่าที่ตนต้องเสีย ประโยชน์เนื่องแต่การนั้น
มาตรา 1681 ถ้าทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมนั้นได้สูญหาย ทำลาย หรือบุบสลายไป และพฤติการณ์ทั้งนี้เป็นผลให้ได้ทรัพย์สินอื่น มาแทนหรือได้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนทรัพย์สินนั้น ผู้รับ พินัยกรรมจะเรียกให้ส่งมอบของแทน ซึ่งได้รับมานั้นหรือจะเรียกร้อง เอาค่าสินไหมทดแทนเสียเองก็ได้แล้วแต่กรณี
มาตรา 1682 เมื่อพินัยกรรมทำขึ้นเป็นการปลดหนี้หรือโอนสิทธิ เรียกร้อง พินัยกรรมนั้นมีผลเพียงจำนวนซึ่งคงค้างชำระอยู่ในเวลาที่ ผู้ทำพินัยกรรมตาย เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ถ้ามีเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่ปลดให้ หรือสิทธิเรียกร้องที่ โอนไปนั้น ก็ให้ส่งมอบแก่ผู้รับพินัยกรรมและให้ใช้ มาตรา 303 ถึง มาตรา 313 มาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้ทำพินัย กรรมจะต้องกระทำการหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา นั้น ๆ แล้วบุคคลผู้ต้องจัดการตามพินัยกรรมหรือผู้รับพินัยกรรมจะ กระทำการหรือดำเนินการนั้น ๆ แทนผู้ทำพินัยกรรมก็ได้
มาตรา 1683 พินัยกรรมที่บุคคลทำให้แก่เจ้าหนี้คนใดของตนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มิได้ทำขึ้นเพื่อชำระหนี้อันค้างชำระแก่เจ้าหนี้ คนนั้น
มาตรา 1684 เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้ เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของ ผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด
มาตรา 1685 ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดผู้รับพินัยกรรม ไว้โดยคุณสมบัติที่ทราบตัวแน่นอนได้ ถ้ามีบุคคลหลายคนทรงไว้ซึ่ง คุณสมบัติที่จะเป็นผู้รับพินัยกรรมตามที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ดั่ง นั้นได้ ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ถือว่าทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนปันเท่า ๆ กัน
หมวด 4 พินัยกรรมที่ตั้งผู้ปกครองทรัพย์
มาตรา 1686 อันว่าทรัสต์นั้น จะก่อตั้งขึ้นโดยตรงหรือโดยทางอ้อมด้วยพินัยกรรมหรือด้วยนิติกรรมใด ๆ ที่มีผลในระหว่างชีวิตก็ดีหรือเมื่อตายแล้วก็ดี หามีผลไม่ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อการก่อตั้งทรัสต์เท่านั้น
มาตรา 1687 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์หรือ ผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือแก่ผู้ซึ่งต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพราะเหตุวิกลจริต แต่ต้องการมอบ การเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินนั้นแก่บุคคลอื่นนอกจากบิดามารดา ผู้ปกคร ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ของบุคคลเช่นนั้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องตั้งผู้ปกครองทรัพย์สินขึ้น
การ ตั้งผู้ปกครองทรัพย์นี้ ห้ามมิให้ตั้งขึ้นเป็นเวลาเกินกว่ากำหนดแห่ง การเป็นผู้เยาว์หรือกำหนดที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ หรือกำหนดที่ต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณี
มาตรา 1688 การตั้งผู้ปกครองทรัพย์นั้น ในส่วนที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ย่อมไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับแก่เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นทั้งแพและสัตว์พาหนะด้วย
มาตรา 1689 นอกจากบุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 1547 แห่งประมวลกฎหมายนี้ นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาที่มีความสามารถ บริบูรณ์จะรับตั้งเป็นผู้ปกครองก็ได้
มาตรา 1690 ผู้ปกครองทรัพย์นั้น ย่อมตั้งขึ้นได้โดย
(1) ผู้ทำพินัยกรรม
(2) บุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้ง
มาตรา 1691 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในพินัยกรรม ผู้ปกครองทรัพย์จะทำพินัยกรรมตั้งบุคคลอื่นให้ทำการสืบแทนตนก็ได้
มาตรา 1692 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินที่ได้รับมอบไว้ ผู้ปกครอง ทรัพย์มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ปกครองตามความหมายในบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
หมวด 5 การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม
มาตรา 1693 ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้
มาตรา 1694 ถ้าจะเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเสียทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง การเพิกถอนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อ พินัยกรรมฉบับหลังนั้นได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้
มาตรา 1695 ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับแต่ฉบับเดียวผู้ทำ พินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดย ทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ
ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับหลายฉบับ การเพิกถอนนั้นไม่ บริบูรณ์เว้นแต่จะได้กระทำแก่ต้นฉบับเหล่านั้นทุกฉบับ
มาตรา 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใดด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนด พินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป
วิธีเดียวกันนี้ให้ใช้บังคับ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สิน นั้นด้วยความตั้งใจ
มาตรา 1697 ถ้าผู้รับพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรม เป็นอย่างอื่นและปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ให้ ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง เฉพาะในส่วนที่ข้อความขัดกันนั้นเท่านั้น
มาตรา 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป
(1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
(2)เ มื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใด อย่างหนึ่งเสร็จสิ้นลง และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จหรือ ปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้
(3) เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
(4) เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลายโดยผู้ทำพินัย กรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรม มิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือซึ่งสิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้น สูญหายไป
มาตรา 1699 ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือได้แก่แผ่นดินแล้วแต่กรณี
หมวด 6 ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรมหรือ ข้อกำหนดพินัยกรรม
มาตรา 1700 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้ บุคคลจะจำหน่าย ทรัพย์สินใด ๆ โดยนิติกรรมที่มีผลในระหว่างชีวิต หรือเมื่อตายแล้ว โดยมี ข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับประโยชน์โอนทรัพย์สินนั้นก็ได้ แต่ต้องมีบุคคลใด บุคคลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยชน์กำหนดไว้ สำหรับเป็นผู้จะได้รับทรัพย์สิน นั้นเป็นสิทธิเด็ดขาดในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน
ผู้ซึ่งกำหนดขึ้นดั่งกล่าวนั้นต้องเป็นผู้สามารถจะมีสิทธิต่าง ๆ ได้อยู่ใน ขณะที่การจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมีผลบังคับ
ถ้ามิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินในเมื่อมีการละเมิดข้อ กำหนดห้ามโอนไว้ ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย
มาตรา 1701 ข้อกำหนดห้ามโอนตาม มาตรา ก่อนนั้น จะให้มีกำหนด เวลาหรือตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์ก็ได้
ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้ ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นบุคคล ธรรมดา ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนมีระยะเวลาอยู่ตลอดชีวิตของผู้รับประ โยชน์ แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นนิติบุคคล ให้มีระยะเวลาเพียงสามสิบปี
ถ้าได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้ กำหนดนั้นมิให้เกินสามสิบปีถ้ากำหนดไว้ นานกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี
มาตรา 1702 ข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจจด ทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นอันไม่มีเลย
ข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการ ห้ามโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับแก่เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งแพและสัตว์พาหนะด้วย
มาตรา 1703 พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 1704 พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ทำขึ้นนั้น เป็นโมฆะ
พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้น จะเป็นอันเสียเปล่าก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าในเวลา ที่ทำพินัยกรรมนั้นผู้ทำจริตวิกลอยู่
มาตรา 1705 พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ถ้าได้ทำขึ้น ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง มาตรา 1652 มาตรา 1653 มาตรา 1656 มาตรา 1657 มาตรา 1658 มาตรา 1660 มาตรา 1661 หรือ มาตรา 1663 ย่อมเป็นโมฆะ
มาตรา 1706 ข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นโมฆะ
(1) ถ้าตั้งผู้รับพินัยกรรมไว้โดยมีเงื่อนไขว่า ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่าย ทรัพย์สินของเขาเองโดยพินัยกรรมให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม หรือแก่บุคคล ภายนอก
(2) ถ้ากำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจที่จะทราบตัวแน่นอนได้เป็นผู้รับพินัยกรรม แต่ผู้รับพินัยกรรมตามพินัยกรรมลักษณะเฉพาะนั้น อาจกำหนดโดยให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ระบุเลือกเอาจากบุคคลอื่นหลายคน หรือจา บุคคลอื่นหมู่ใดหมู่หนึ่ง ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมระบุไว้ก็ได้
(3) ถ้าทรัพย์สินที่ยกให้โอนพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะ ทราบแน่นอนได้ หรือถ้าให้บุคคลใดคนหนึ่งกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตาม แต่ใจ
มาตรา 1707 ถ้าข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไข ว่าให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคล อื่น ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลย
มาตรา 1708 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคน หนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ก็ได้ แต่หากผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ต่อมาเกินหนึ่งปี นับแต่ผู้ทำพินัยกรรม พ้นจากการข่มขู่แล้ว จะมีการร้องขอเช่นว่านั้นไม่ได้
มาตรา 1709 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใด คนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะสำคัญผิด หรือกลฉ้อฉลได้ก็ต่อเมื่อความสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลนั้นถึงขนาดซึ่งถ้า มิได้มีความสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลเช่นนั้น พินัยกรรมนั้นก็จะมิได้ทำขึ้น
ความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับ แม้ถึงว่ากลฉ้อฉลนั้น บุคคลซึ่งมิใช่เป็น ผู้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมได้ก่อขึ้น
แต่พินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นโดยสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อผู้ทำพินัยกรรมมิได้เพิกถอนพินัยกรรมนั้นภายในหนึ่งปี นับแต่ที่ได้รู้ ถึงการสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลนั้น
มาตรา 1710 คดีฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นมิให้ฟ้อง เมื่อพ้นกำหนดดั่งนี้
(1) สามเดือนภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ในกรณีที่โจทก์รู้เหตุแห่ง การที่จะขอให้เพิกถอนได้ ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมมีชีวิตอยู่ หรือ
(2) สามเดือนภายหลังที่โจทก์ได้รู้เหตุเช่นนั้นในกรณีอื่นใด
แต่ถ้าโจทก์ไม่รู้ว่ามีข้อกำหนดพินัยกรรม อันกระทบกระทั่งถึงส่วนได้ เสียของตน แม้ว่าโจทก์จะได้รู้เหตุแห่งการที่จะขอให้เพิกถอนได้ก็ดี อายุความสามเดือนให้เริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์รู้หรือควรจะได้รู้ว่ามีข้อ กำหนดพินัยกรรมนั้น
แต่อย่างไรก็ดี ห้ามมิให้ฟ้องคดีเช่นนี้เมื่อพ้นสิบปีนับแต่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
ลักษณะ 4 วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
หมวด 1 ผู้จัดการมรดก
มาตรา 1711 ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล
มาตรา 1712 ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้
(1) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง
(2) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม ให้เป็นผู้ตั้ง
มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
มาตรา 1714 เมื่อศาลตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อการใดโดย เฉพาะผู้นั้นไม่จำต้องทำบัญชีทรัพย์มรดก เว้นแต่จะจำเป็นเพื่อการนั้น หรือศาลสั่งให้ทำ
มาตรา 1715 ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้ จัดการมรดกก็ได้
เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดก หลายคน แต่ผู้จัดการเหล่านั้นบางคนไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียว ผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้ โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้
มาตรา 1716 หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟัง หรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
มาตรา 1717 ในเวลาใด ๆ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย แต่ ต้องเป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดกตายแล้วสิบห้าวัน ทายาทหรือผู้มีส่วน ได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะแจ้งความถามไปยังผู้ที่ถูกตั้งเป็นผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรมว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกไม่ก็ได้
ถ้าผู้ที่ได้รับแจ้งความมิได้ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันรับแจ้งความนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการ มรดกนั้นจะทำภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เว้นแต่ศาล จะอนุญาต
มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความ สามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก
มาตรา 1720 ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 809 ถึง มาตรา 812 มาตรา 819 มาตรา 823 แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้ มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1721 ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจาก กองมรดกเว้นแต่พินัยกรรม หรือทายาทโดยจำนวนข้างมากจะได้ กำหนดให้ไว้
มาตรา 1722 ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสีย เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล
มาตรา 1723 ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเอง เว้นแต่จะ ทำการโดยตัวแทนได้ตามอำนาจที่ให้ไว้ชัดแจ้ง หรือโดยปริยายใน พินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่ กองมรดก
มาตรา 1724 ทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการ ทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้ จัดการมรดก
ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อย่างอื่นใด อันบุคคลภายนอก ได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าจะให้เป็นลาภส่วนตัว ทายาทหาต้องผูกพัน ไม่ เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย
มาตรา 1725 ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วน ได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วน ได้เสียนั้น ภายในเวลาอันสมควร
มาตรา 1726 ถ้าผู้จัดการมรดกมีหลายคน การทำการตามหน้าที่ ของผู้จัดการมรดกนั้นต้องถือเอาเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีข้อกำหนด พินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้าเสียงเท่ากัน เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ ก็ให้ ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
มาตรา 1727 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอน ผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือ เพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดก เสร็จสิ้นลง
แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจาก ตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
มาตรา 1728 ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดก ภายในสิบห้าวัน
(1) นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้าในขณะนั้นผู้จัดการมรดกได้รู้ถึงการ ตั้งแต่งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
(2) นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม มาตรา 1716 ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือ
(3) นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น
มาตรา 1729 ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่ระบุไว้ใน มาตรา 1728 แต่กำหนดเวลานี้ เมื่อผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือนศาลจะอนุญาต ให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
บัญชีนั้นต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วน ได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
บุคคลซึ่งจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ตาม มาตรา 1670 จะเป็นพยานในการทำบัญชีใด ๆ ที่ต้องทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ไม่ได้
มาตรา 1730 ให้นำ มาตรา 1563 มาตรา 1564 วรรค 1 และ 2 และ มาตรา 1565 แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในระหว่าง ทายาทกับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมและในระหว่างศาลกับผู้ จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
มาตรา 1731 ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและ ตามแบบที่กำหนดไว้ หรือถ้าบัญชีนั้นไม่เป็นที่พอใจแก่ศาลเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้
มาตรา 1732 ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงาน แสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่ วันที่ระบุไว้ใน มาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดย จำนวนข้างมากหรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1733 การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิดหรือข้อตกลง อื่น ๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดงบัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ ใน มาตรา 1732 นั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชีนั้นได้ส่ง มอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อย กว่าสิบวันก่อนแล้ว
คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง
หมวด 2 การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน และการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก
มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จาก ทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น
มาตรา 1735 ทายาทจำต้องบอกทรัพย์มรดกและหนี้สินของผู้ตาย ตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก
มาตรา 1736 ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดก หรือผู้รับพินัยกรรมที่ ปรากฏตัว ยังไม่ได้รับชำระหนี้ หรือส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ
ในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น ผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ใน ทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่นฟ้องคดีหรือแก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ อนึ่งผู้จัดการมรดกต้องทำการทุกอย่างตามที่จำเป็น เพื่อเรียกเก็บ หนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกภายในเวลาอันเร็วที่สุดที่จะทำได้ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้จัดการมรดกต้องทำ การแบ่งปันมรดก
มาตรา 1737 เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาท คนใดก็ได้ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดก ให้เจ้าหนี้เรียกเข้ามาในคดีด้วย
มาตรา 1738 ก่อนแบ่งมรดก เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้ เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ทายาทคนหนึ่งๆ อาจเรียก ให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้ จนถึงเวลาแบ่งมรดก
เมื่อแบ่งมรดกแล้ว เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดกเกินกว่าส่วนที่ตนจะ ต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้
มาตรา 1739 ให้ชำระหนี้ที่กองมรดกค้างชำระตามลำดับต่อไปนี้ และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยบุริมสิทธิ โดยไม่ต้อง ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่บรรดาเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิพิเศษ ตามประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นและบรรดาเจ้าหนี้ที่มีประกันโดยการ จำนำหรือการจำนอง
(1) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก
(2) ค่าใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก
(3) ค่าภาษีอากรซึ่งกองมรดกค้างชำระอยู่
(4) ค่าจ้างซึ่งเจ้ามรดกค้างชำระแก่เสมียน คนใช้และคนงาน
(5) ค่าเครื่องอุปโภคอันจำเป็นประจำวันซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก
(6) หนี้สินสามัญของเจ้ามรดก
(7) บำเหน็จของผู้จัดการมรดก
มาตรา 1740 เว้นแต่เจ้ามรดกหรือกฎหมายจะได้กำหนดไว้เป็น อย่างอื่น ให้จัดสรรทรัพย์สินของเจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ตามลำดับต่อไปนี้
(1) ทรัพย์สินนอกจากอสังหาริมทรัพย์
(2) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งจัดสรรไว้ชัดแจ้งในพินัยกรรมว่าสำหรับชำระ หนี้ถ้าหากว่ามีทรัพย์สินเช่นนั้น
(3) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งทายาทโดยธรรมชอบที่จะได้รับในฐานะเช่นนั้น
(4) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งโดยมี เงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องชำระหนี้ของเจ้ามรดก
(5) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้โดยลักษณะทั่วไป ดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 1651
(6) ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้โดยลักษณะ เฉพาะดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1651
ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งได้จัดสรรไว้ตามความที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นนั้น ให้เอาออกขายทอดตลาด แต่ทายาทคนใดคนหนึ่งอาจมิ ให้มีการขายเช่นว่านั้นได้ โดยชำระราคาทรัพย์สินนั้นทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนตามที่ผู้ตีราคาซึ่งศาลตั้งขึ้นได้กำหนดให้ จนพอแก่จำนวน ที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
มาตรา 1741 เจ้าหนี้กองมรดกคนใดคนหนึ่ง จะคัดค้านการขาย ทอดตลาดหรือการตีราคาทรัพย์สินดั่งระบุไว้ใน มาตรา ก่อน โดยเสีย ค่าใช้จ่ายของตนเองก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ได้ร้องคัดค้านแล้ว ยังได้กระทำ การขายทอดตลาด หรือตีราคาไป จะยกการขายทอดตลาดหรือตี ราคานั้นขึ้นยันต่อเจ้าหนี้ผู้ร้องคัดค้านแล้วนั้นหาได้ไม่
มาตรา 1742 ถ้าในการชำระหนี้ซึ่งค้างชำระอยู่แก่ตน เจ้าหนี้คนใด คนหนึ่งได้รับตั้งในระหว่างที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่ให้เป็นผู้รับประโยชน์ในการ ประกันชีวิต เจ้าหนี้คนนั้นชอบที่จะได้รับเงินทั้งหมด ซึ่งได้ตกลงไว้กับ ผู้รับประกันอนึ่งเจ้าหนี้เช่นว่านั้น จำต้องส่งเบี้ยประกันภัยคืนเข้ากอง มรดกก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนอื่นพิสูจน์ได้ว่า
(1) การที่ผู้ตายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยวิธีดั่งกล่าวมานั้น เป็นการ ขัดต่อบทบัญญัต มาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายนี้ และ
(2) เบี้ยประกันภัยเช่นว่านั้น เป็นจำนวนสูงเกินส่วนเมื่อเทียบกับราย ได้หรือฐานะของผู้ตาย
ถึงอย่างไรก็ดี เบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนเข้ากองมรดกนั้นต้องไม่เกิน กว่าจำนวนเงินที่ผู้รับประกันชำระให้
มาตรา 1743 ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมโดยลักษณะ ทั่วไปไม่จำต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในพินัยกรรมลักษณะเฉพาะเกิน กว่าจำนวนทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ
มาตรา 1744 ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกและผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัว ได้รับชำระหนี้และส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน
หมวด 3 การแบ่งมรดก
มาตรา 1745 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้ มาตรา 1356 ถึง มาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับ เพียงเท่าที่ไม่ ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้
มาตรา 1746 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย หรือข้อความในพินัยกรรม ถ้าหากมี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้เป็นทายาทด้วยกันมีส่วนเท่ากันใน กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
มาตรา 1747 การที่ทายาทคนใดได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด หรือประโยชน์อย่างอื่นใดจากเจ้ามรดกโดยการให้ หรือโดยการอย่าง อื่นใด ซึ่งทำให้โดยเสน่หาในระหว่างเวลาที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่นั้น หาทำให้สิทธิในการแบ่งปันทรัพย์มรดกของทายาทคนนั้น ต้อง เสื่อมเสียไปแต่โดยประการใดไม่
มาตรา 1748 ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้น กำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 แล้วก็ดี
สิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อน จะตัดโดยนิติกรรมเกิน คราวละสิบปีไม่ได้
มาตรา 1749 ถ้ามีคดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็น ทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น จะร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้
แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความ หรือผู้ร้องสอด ให้เข้า มารับส่วนแบ่ง หรือกันส่วนแห่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้
มาตรา 1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่าง เข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้ว เอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท
ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญาจะ ฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำ มาตรา 850 มาตรา 852 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 1751 ภายหลังที่ได้แบ่งมรดกกันแล้ว ถ้าทรัพย์สินทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งทายาทคนใดคนหนึ่งได้รับตามส่วนแบ่งปันนั้น หลุดมือไปจากทายาทคนนั้นเนื่องจากการรอนสิทธิ ทายาทคนอื่น ๆ จำต้อง ใช้ค่าทดแทน
หนี้เช่นว่านั้น เป็นอันระงับเมื่อมีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น หรือ การรอนสิทธิเป็นผลเนื่องมาจากความผิดของทายาทผู้ถูกรอนสิทธิ หรือเนื่องมาจากเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการแบ่งปัน
ทายาทคนอื่น ๆ ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่ทายาทผู้ถูกรอนสิทธิตาม ส่วนแห่งส่วนแบ่งของตน แต่ให้หักจำนวนที่เป็นส่วนเฉลี่ย ซึ่งทายาท ผู้ถูกรอนสิทธิจะต้องออกกับเขาด้วยนั้นออกเสีย แต่ถ้าทายาทคนใด คนหนึ่งเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ทายาทคนอื่นๆต้องรับผิดในส่วนของ ทายาทคนนั้นตามส่วนเฉลี่ยเช่นเดียวกัน แต่ให้หักจำนวนที่เป็นส่วน เฉลี่ยซึ่งทายาทผู้ที่จะได้รับค่าทดแทน จะต้องออกแทนทายาทผู้ที่มี หนี้สินพ้นตัวนั้นออกเสีย
บทบัญญัติในวรรคก่อน ๆ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ
มาตรา 1752 คดีฟ้องให้รับผิดเนื่องจากการรอนสิทธิตาม มาตรา 1751 นั้น มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่เมื่อถูกรอนสิทธิ
ลักษณะ 5 มรดกที่ไม่มีผู้รับ
มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อ บุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน
ลักษณะ 6 อายุความ
มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียก ร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้ นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้อง ร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคล ซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก