Blog categories

Latest posts

บทความจาก คุณศุภชัย ช่วยผักแว่น    มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล

เทคนิคการเรียนเนติบัณฑิต

 โดย นายศุภชัย ช่วยผักแว่น
น.บ.ท. 64  

         
เป็นที่ยอมรับกันว่าการเรียนที่เนติบัณฑิตนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักในการ ที่เราจะสอบผ่านเพื่อเป็นเนติบัณฑิต แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความสามารถของเราหากเรามุ่งมั่นและตั้งใจกับมัน อย่างเต็มที่
สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้เป็นเทคนิคในการเรียนเนติบัณฑิตของผมที่อยากจะเอา มาแนะนำเพื่อนๆซึ่งผมหวังว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มาก ก็น้อย

สิ่งที่เราควรต้องทำในการศึกษาเนติบัณฑิต

1     เราต้องเริ่มทำการอ่านหนังสืออย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ตั้งแต่ต้นของภาคการศึกษา เพราะการเรียนที่เนติบัณฑิตนั้นเป็นการนำความรู้ในระดับปริญญาตรี 4 ปี มารวมเป็นหลักสูตรเพียง 1 ปี ทำให้ภาระในการอ่านหนังสือของเรานั้นมีมาก ดั้งนั้นเราควรที่จะเตรียมตัวเสียแต่เนิ่นๆไว้เพื่อความไม่ประมาท เพราะถ้าเราอ่านหนังสือเพียง 2 เดือนก่อนสอบเหมือนกับตอนที่เรียนปริญญาตรีนั้น ผมเชื่อว่าคงอยากที่เราจะสอบผ่านได้   

2     ตำราที่ใช้อ่านในการเรียนที่เนติบัณฑิตนั้น ผมอ่านรวมคำบรรยายของเนติบัณฑิตเป็นหลักเพราะข้อสอบส่วนใหญ่มักซ่อนอยู่ใน รวมคำบรรยาย แต่ถ้าหากมีวิชาไหนที่ผมไม่ค่อยเข้าใจผมก็จะหาตำราอื่นๆมาอ่านประกอบเพิ่ม เติม ส่วนคำพิพากษาฎีกานั้น ควรดูคำพิพากษาฎีกาใหม่ๆ หรือดูย้อนหลังสัก10ปีก็ได้ เพราะข้อสอบเนติบัณฑิตนั้นบ่อยครั้งมักนำคำพิพากษาฎีกามาออกเป็นข้อสอบโดย เฉพาะฎีกาใหม่ๆ ยิ่งฎีกาไหนแปลกๆและยังไม่เคยนำมาออกเป็นข้อสอบยิ่งต้องให้ความสนใจเป็น พิเศษ เพราะมีโอกาสที่จะนำมาออกข้อสอบได้มาก

อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการอ่านหนังสือของผมก็คือการโน้ตย่อสาระสำคัญ สิ่งต่างๆที่เราอ่านหากเรื่องไหนสำคัญหรือเป็นสิ่งใหม่ที่เราไม่รู้ ไม่ว่าอาจารย์จะเน้นหรือไม่ก็ตามก็ควรจดลงในสมุดหรือประมวลก็ได้โดยจัดให้ เป็นหมวดหมู่เพื่อให้เกิดความสะดวกในการอ่านทบทวนในภายหลัง ซึ่งเมื่อถึงเวลาก่อนสอบผมก็จะนำสิ่งที่ผมโน้ตย่อไว้นั้นมาอ่านซึ่งทำให้ผม ประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือทบทวนก่อนถึงวันสอบได้มาก  การอ่านหนังสือโดยไม่จดอะไรไว้เลยย่อมไม่อาจทำให้เราจดจำสาระสำคัญของวิชา ที่เราเรียนได้เพราะเมื่อเวลาผ่านไปเราอาจหลงลืมและต้องเริ่มกลับไปอ่าน หนังสือใหม่ทำให้เสียเวลาและการโน้ตย่อนั้นย่อมถือเป็นการฝึกเขียนไปในตัว และทำให้เราจำหลักกฎหมายได้แม่นยำขึ้นด้วย

3   การฟังบรรยาย ถ้ามีโอกาสเข้าฟังบรรยายก็ควรที่จะเข้าฟังอย่างสม่ำเสมอไม่ว่า จะเป็นการฟังบรรยายภาคค่ำหรือภาคปกติเพราะจะได้รู้ว่าเนื้อหาหรือขอบเขตวิชา ที่จะนำมาทดสอบความรู้ของเราว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ลืมการอ่านหนังสือเพราะการเข้าฟังการบรรยายเพียงอย่าง เดียวโดยไม่ค่อยอ่านหนังสือนั้นย่อมทำให้เราพลาดประเด็นที่สำคัญๆที่อาจารย์ ไม่ได้เน้นย้ำได้ แต่หากไม่มีเวลาไปฟังบรรยายก็เน้นหนักไปทางการอ่านหนังสือได้ไม่ว่ากัน

4         การอ่านข้อสอบเก่า  เป็นสิ่งที่นักศึกษาเนติบัณฑิตละเลยไม่ได้เพราะการอ่านข้อสอบเก่าทำให้เรา เห็นแนวทางในการเขียนคำตอบ ขอบเขตของวิชาที่จะใช้ออกข้อสอบ มาตราที่ออกข้อสอบบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้เราย่นขอบเขตในการอ่านหนังสือได้ ซึ่งควรอ่านประมาณ 20 สมัยย้อนหลังไป แต่ต้องระวังนิดหน่อยในการอ่านข้อสอบเก่าในกรณีที่มีการแก้ไขกฎหมายใหม่ซึ่ง อาจทำให้ธงคำตอบเปลี่ยนไปได้ จึงต้องดูมาตราต่างๆประกอบด้วยว่ามีการแก้ไขหรือไม่ และมาตราที่แก้ไขนั้นกลับหลักเดิมหรือไม่            

5      การท่องมาตรา มาตรานั้นคือหลักกฎหมายแม้เราจะจำคำพิพากษาฎีกาไม่ได้ แต่จำมาตราได้ก็ย่อมทำให้เรามีโอกาสทำข้อสอบได้เช่นกัน เริ่มต้นเราควรที่จะท่องมาตราที่เคยออกเป็นข้อสอบมาแล้วจากการอ่านข้อสอบ เก่าเพราะมาตราเหล่านี้มักถูกนำมาออกเป็นข้อสอบบ่อยๆ โดยเฉพาะมาตราที่ได้มีการแก้ไขใหม่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะมักจะมีการ นำมาออกเป็นข้อสอบบ่อยๆโดยเฉพาะ ป.วิ.อ ออกตรงตามมาตราเลยไม่มีฎีกา

6     วิธีการทำข้อสอบ   การตอบคำถามในชั้นเนติบัณฑิตนั้นนับเป็นปัญหาสำคัญของทุกคนดังนั้นเราควรที่ จะต้องนำข้อสอบเก่ามาฝึกทำบ่อยๆเพื่อที่จะได้สร้างความคุ้นเคยกับการทำข้อ สอบและสามารถจับประเด็นได้ถูกต้องครบถ้วน สำหรับผมนั้นผมฝึกทำข้อสอบวันละข้อสองข้อต้นของภาคการศึกษา

ข้อปฏิบัติในการเขียนคำตอบของผมมีดังนี้

          6.1    ควรอ่านคำถามหลายๆรอบแล้วพยายามจับประเด็นว่าแต่ละข้อนั้นมีกี่ประเด็นและ มีประเด็นอะไรบ้าง แล้วโน้ตไว้ในกระดาษคำถามจะได้ไม่ลืม

          6.2    ข้อไหนง่ายให้ทำข้อนั้นก่อน

          6.3    ในการเขียนคำตอบนั้นควรวางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเริ่มวินิจฉัย เพราะหากตอบผิดก็ยังพอได้คะแนนบ้าง ถ้าจำเลขมาตราไม่ได้ก็ไม่ต้องใส่เพราะถ้าใส่ผิดจะโดนหักคะแนน

          6.4    พยายามทำให้ครบทุกข้อทำได้ไม่ได้ชั่งมัน แต่ขอให้เขียนให้ครบทุกข้อเพราะอาจทำให้เราได้คะแนนบ้างได้ 1 ได้ 2 คะแนน ดีกว่าได้ 0

          6.5    ภาษาที่ใช้ในการเขียนคำตอบต้องเป็นภาษากฎหมาย ยิ่งเป็นคำที่ตรงตามตัวบทยิ่งดีเพราะจะทำให้ได้คะแนนดี

          6.6    เมื่อทำข้อสอบเสร็จแล้วหากยังมีเวลาเหลืออยู่ให้พยายามอ่านคำตอบของเราว่ามีถ้อยคำตกหล่นหรือไม่

7 ต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงหากมีเวลาว่างก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมทำมาตลอดเวลาที่ผมศึกษาที่เนติบัณฑิตหวังว่าคงจะ เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อย สิ่งที่ทำให้ผมเป็นเนติบัณฑิตไม่ใช่เพราะผมเป็นคนเก่งแต่หากเป็นเพียงความ มุ่งมั่นที่ผมมีอยู่ที่เป็นแรงผลักดันให้กับตัวผม