Blog categories

Latest posts

ทนายณุมาพร พัฒนพงศธร น.บ.ท.64 ผู้เรียบเรียง

.

ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย แต่คุณแม่ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ จะทำอย่างไรดี

.

                    ช่วงก่อนตรุษจีน 2556 พี่ตุ๊กตาได้รับโทรศัพท์จากน้องที่ทำงานเก่า กังวลใจเรื่องลูกหนี้ของคุณแม่ ที่ค้างชำระหนี้คุณแม่มาเกือบ 10 ปีแล้ว ตอนแรกน้องเค้าก็กังวลเรื่องจะหมดอายุความทางแพ่ง คือ 10 ปี แต่พอพี่ตุ๊กตาซักถามได้สักพัก จึงได้รู้ว่า ลูกหนี้ของคุณแม่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว น้องสืบค้นเจอจากในเวบของราชกิจจานุเบกษา

                   จากที่กังวลเรื่องหมดอายุความของสัญญาเงินกู้ กลับกลายเป็นว่า คุณแม่ไม่ได้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (มาตรา 91) สาเหตุเพราะคุณแม่ไม่รู้ว่าลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายนั่นเอง (ถึงคุณแม่ยังไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ก็สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้)

                    ตอนแรกที่คุยกันเรื่อง "หนี้ขาดอายุความ" พี่ตุ๊กตายังแนะนำให้คุณแม่ฟ้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เพราะถ้าลูกหนี้ไม่ได้ต่อสู้เรื่องอายุความ ศาลก็จะยกอายุความขึ้นกล่าวอ้างเองไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 193/29) เพียงแต่ลูกหนี้มีสิทธิปฏิเสธการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 193/9) และลูกหนี้จะต้องยกเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ด้วย (ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) )

                    แต่ปัญหาเรื่อง ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ กลับกลายเป็นคุณแก่ลูกหนี้ยิ่งนัก เพราะเท่ากับเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องคดีเรียกร้องเอาหนี้จำนวนนี้ คืนได้อีกต่อไป เพราะถ้าเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีได้ ลูกหนี้ก็จะไม่มีโอกาสหลุดพ้นจากหนี้สินต่าง ๆ ได้ชั่วชีวิต

                    นับเป็นบทเรียน และอุทธาหรณ์แก่เจ้าหนี้ทุกท่านว่า ต้องหมั่นตรวจสอบการล้มละลายของลูกหนี้ตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยปกติ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทาง หนังสือพิมพ์ก่อน ภายหลังจากนั้นจะประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาอีก ครั้งหนึ่ง ดังนั้น เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือนนับแต่การประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษา 

                    เว้นแต่ เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตรวจดูทรัพย์สินนั้น (มาตรา 95)

                    พี่ตุ๊กตา มีคำแนะนำว่า หลังจากที่ลูกหนี้ของคุณแม่ ปลดจากล้มละลาย คือ 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย (มาตรา 81/1) คุณแม่ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ คงต้องขอความกรุณาจากลูกหนี้ ขอให้ลูกหนี้ช่วยชำระหนี้คืนบ้าง (พี่ตุ๊กตาขออนุญาตตอบหลังไมค์นะคะ)

                   ทั้งนี้ ตามฎีกา นำสินประกันภัย ที่ 4797/2553, 634/2545 และ 1681/2552

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2553

พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77(1), 77(2), 81/1 

          ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำ พิพากษาก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใน คดีดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย

________________________________ 

            โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย

          จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 และให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับ

          จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

            ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อแรกมี ว่า โจทก์มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2543 และพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2544 จำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 นับถัดจากวันที่ 20 สิงหาคม 2547 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำ พิพากษาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใน คดีที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังกล่าวแล้วอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้ออื่นย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย เนื่องจากไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

( สิงห์พล ละอองมณี - สมศักดิ์ จันทรา - พินิจ สุเสารัจ )

ศาลล้มละลายกลาง - นายพิพัฒน์ พรพิริยะกุลชัย

 

ข้อเท็จจริง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2542/2549

ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 659 วรรคสาม

         

________________________________

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1181/2541

ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 563, 671

          

________________________________

         

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2205/2542

ป.พ.พ. มาตรา 420, 537, 657
ป.วิ.พ. มาตรา 224

      

________________________________

        

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3517/2525

ป.พ.พ. มาตรา 164, 226, 227, 561, 567, 657, 665, 671, 880
ป.วิ.พ. มาตรา 248

 

________________________________

 

 

(ฎีกาเหล่านี้ทีมทนายความ Thai Law Consult นำมาจากระบบสืบค้นคำพิพากษาศาลฎีกา 1-11-55)