Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
เว็บ TLC เผยแพร่บทความเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
และพร้อมที่จะให้ท่านแคปหน้าจอไปใช้ได้
แต่กรุณาให้เครดิตว่ามาจากเว็บ Thai Law Consult
มิฉะนั้น ท่านอาจจะมีความผิดฐานละเมิดงาน "วรรณกรรม" อันมีลิขสิทธิ์ได้
|
|
|
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna...
ทนายพงศ์รัตน์ รัตนพงศ์ น.บ.ท.64 ผู้เรียบเรียง
.
หลัก
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มาตรา 3 "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
(สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อธิบายว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ traffic data ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่อยู่ของไอพี (IP Address) สำหรับข้อมูลปลายทาง ได้แก่ เลขที่อยู่ไปรษณีย์อิเลกทรอนิคส์ (e-mail address) หรือ ที่อยู่เว็บไซด์ (URL) ซึ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปสืบค้นข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อมูลจราจร ยังหมายรวมถึง ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเวลาที่มีการติดต่อสื่อสาร วันที่ จำนวนตัวเลขของผู้ที่ติดต่อสื่อสาร หรือลักษณะของการใช้บริการ หรือประเภทของการติดต่อสื่อสาร เช่น การโอนแฟ้มข้อมูล หรือการติดต่อในรูปของไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ(4)
มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา 14
มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล ที่ปรากฏเป็นภาพของผูู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา 17 ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการ กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด และหาตัวผู้กระทำความผิด
(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บ ตามมาตรา 26 หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้า หน้าที่
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราช บัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้า หน้าที่
(5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคล ใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการ ทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 18 ----> (1) (2) (3) อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนที่ไม่ต้องขออนุญาตศาล
มาตรา 18 ----> (4) - (8) อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสืบสวนที่ต้องขออนุญาตศาลก่อนการดำเนินการ
มาตรา 20 อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
-----> ปิดกั้นเว็บไซต์ บล๊อกเว็บไซต์ กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล โดยก่อนอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจาก รมต.ว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อน ดังนั้น มาตรา 20 การใช้อำนาจต้องผ่านการกลั่นกรองถึง 3 ชั้น คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐมนตรี และ ศาล
มาตรา 25 การรับฟังข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นพยานหลักฐาน
"ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น"
มาตรา 26 หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
"ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษา ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกิน 90 วันแต่ไม่เกิน 1 ปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้"
โทษ - มาตรา 27 ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือ คำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่
"ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้า หน้าที่ที่สั่งตามมาตรา 18 หรือมาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 2 แสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 5 พันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง"
ทบทวน
มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตาม ป.อ.
----> ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตาม ป.อ. ได้แก่ ความผิดที่กำหนดไว้ใน ป.อ. ภาค 2 ลักษณะ 1 ซึ่งแยกกำหนดไว้ 4 หมวด คือ
ทีมงาน Thai Law Consult นำตัวบทมาลงไว้ก่อน รอการเพิ่มเติมข้อมูลอีกครั้งครับ
(ท่านผู้อ่านที่สนใจคำอธิบาย กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ควรอ่านหนังสือของ อาจารย์มานิต จุมปา สำนักพิมพ์วิญญูชน จัดพิมพ์ปี 2553 ราคา 150 บาท ทนายความทีม Thai Law Consult หลายคนใช้หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือครับ)
ข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2549
ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 659 วรรคสาม
________________________________
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2541
ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 563, 671
________________________________
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2542
ป.พ.พ. มาตรา 420, 537, 657
ป.วิ.พ. มาตรา 224
________________________________
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525
ป.พ.พ. มาตรา 164, 226, 227, 561, 567, 657, 665, 671, 880
ป.วิ.พ. มาตรา 248
________________________________